วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาฉลามหางแดงหรือปลากาแดง

                           การเลี้ยงปลาฉลามหางแดงหรือปลากาแดง

                                         

                                                                    ปลากาแดง

                                                          ชื่ออังกฤษ   Redfin Shark

รูปร่างลักษณะ

- ลำตัวยาวเรียว 

- ครีบทุกครีบเป็นสีแดง


- ด้านข้างหัวทั้งสองข้างมีแถบพาดจากปลายปากมาถึงตา

- ตรงโคนหางมีจุดสีดำหนึ่งจุด


- มีหนวดสั้นๆ 2 คู่


- ปากขนาดเล็ก ริมฝีปากบนงองุ้มกว่าริมฝีปากล่าง

- ขนาดโตเต็มที่ 10 - 15 เซนติเมตร

อุปนิสัย

- เป็นปลากินตะไคร่น้ำที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ชอบอยู่บริเวณพื้น

การเลี้ยงดู

- อาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไข่กุ้ง ไรแดง หรืออาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มา  http://fishmini.blogspot.com/2010/12/blog-post_16.html

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปอมปาดัวร์

                                   การเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์
                                     

                                ปลาปอมปาดัวร์        ชื่อภาษาอังกฤษ       Pompadour

ชื่อสามัญ               Discus

ชื่อวิทยาศาสตร์      Symphysodon

ถิ่นกำเนิด              ลุ่มน้ำอะเมซอน ทวีปอเมริกาใต้ เช่นประเทศบราซิล โคลัมเบีย และประเทศเวเนซุเอลา เป็นต้น

ขนาดลำตัว           ประมาณ 18 -20 เซนติเมตร

อุณหภูมิน้ำ            สำหรับปลาปอมปาดัวร์ จะอาศัยและเติบโตได้ดีในอุณหภูมิน้ำประมาณ 25-32 องศาเซลเซียส

ค่า pH ของน้ำ      6.8

ลักษณะนิสัย     

- ปอมปาดัวร์ เป็นปลาชนิดกินเนื้อ ที่มีนิสัยรักสงบ ไม่ก้าวร้าว ดุร้าย และไม่ทำร้ายปลาชนิดอื่น 


- เป็นปลาที่รักความสะอาด ระแวงและขี้ตกใจง่าย

- อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี นอกจากนี้ชอบว่ายน้ำอย่างเชื่องช้าและนุ่มนวล


- สำหรับช่วงวางไข่ทั้งตัวผู้ตัวเมีย จะค่อนข้างดุร้ายและขี้ตกใจมากกว่าปกติ

ลักษณะเด่น

-ปอมปาดัวร์ จัดเป็นปลาที่มีสีสันลวดลายสวยงาม โดยลวดลายและสีสันนั้นจะมีความหลากหลายโดดเด่นแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดที่มีมากมาย เช่น สีฟ้า สีแดง น้ำตาล เขียว ส้ม ฯลฯ 


- ลำตัวแบนข้างและกว้างมากๆ รูปร่างกลมมนเกือบเป็นวงกลมคล้ายจาน มีแถบสีดำเป็นยาวพาดขวางลำตัว บางชนิดเป็นจุดกระจายสลับกัน นับเป็นปลาน้ำจืดที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตา และตลอดจนสีสันที่คล้ายกับปลาทะเล
ที่มา 
http://fishmini.blogspot.com/2010/12/blog-post_16.
html








วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลานีออน

                                             ปลานีออน

                                            



                                                         ปลานีออน
                                      ชื่ออังกฤษ  Neon tetra    ตระกูล  Characidae
รูปร่างลักษณะ
-เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ซึ่งถ้าโตเต็มที่ประมาณ 4.5 เซนติเมตร
- มีลำตัวยาวและแบนข้าง คล้ายเมล็ดข้าวสาร
- มีครีบบางใส ยาวพอประมาณ 7 ครีบ
-ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว
- แผ่นหลังมีสีเขียวคล้ำ มีแถบสีฟ้าคาดข้างลำตัวจากส่วนหัวถึงโคนหาง เห็นเป็นสีสะท้อนแสง
- บริเวณใต้ท้องมีแถบสีแดงคาดอยู่เช่นกัน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และท้องอูมเป่งกว่าตัวผู้ และมีสีเงินซีดจางกว่าปลาตัวผู้
อุปนิสัย

- เป็นปลาที่รักสงบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ตกใจง่ายและเคลื่อนไหวตลอดเวลา
การเลี้ยงดู

- ควรเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ที่มีความก้าวร้าวเพราะอาจถูกทำร้ายได้ และควรสร้างธรรมชาติใต้น้ำด้วยพรรณไม้น้ำสวยงาม จะทำให้ปลานีออนสดชื่น แข็งแรงและมีชีวิตยืนยาว
อาหาร
- ปลานีออน สามารถกินอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะชอบกินไรแดง
             ปลานีออนเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาพันธุ์อื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้ แต่ปลานีออนเป็นปลาที่ขี้ตื่น ชอบกระโดดดังนั้นถ้าเลี้ยงในตู้ควรมีฝาปิดมิดชิด กันปลากระโดดออกมานอกตู้ ถ้าที่ดีนั้นควรหาที่ซ่อนเวลาปลานีออนตกใจ เช่น ขอนไม้ ก้อนหิน หรือพรรณไม้ต่างๆ
ที่มา 
http://fishmini.blogspot.com/2010/08/blog-post_29.html



วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลากัด

                                    การเลี้ยงปลากัด


                             รูปปลากัดแดง

                               ปลากัดลูกทุ้งหรือลูกป่า      
          เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไปขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาวครีบก้น ครีบหลัังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตจะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีดและมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้องระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไวแต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้ 
                             ปลากัดไทน ปลากัดหม้อ
 

                        รูปปลากัดหม้อ     

            เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสันตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัดหม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะสั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับมาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมาว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน

                                       ปลากัดจีน

               

           เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงามฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะไม่มีความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม


                                    ปลากัดเขมร


                         

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
         ป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยงเนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้ เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบนเพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยกปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้ ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสียหายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดูเพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้

1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัดมีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมียแม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้วจึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุราชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหาได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวดพิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่งทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็นขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภทหรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่ายในท้องตลาด
ที่มา 
http://www.samud.com/bettle_fish.asp


                               

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยปลาเทวดา

                                          การเลี้ยงปลาเทวดา

                                       ปลาเทวดา ปลาสวยงาม

        ปลาเทวดา Freshwater Angel fish มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ

        ปัจจุบัน ปลาเทวดา มีทั้งหมด 3 ชนิด แต่ มีนักมีนวิทยาบางคนได้จำแยกชนิดของปลาเทวดาให้มากกว่านี้ โดยมีชนิดถึง 5 ชนิด ได้แก่ Pterophyllum dumerilii, Pterophyllum eimekei ซึ่งเป็นอีก 2 ชนิดเพิ่มเติมขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะเชื่อว่าทั้ง 2 ชนิดนั้นได้กลายพันธุ์มาจากชนิดที่มีดั้งเดิมอยู่แล้วทั้ง 3

1.ปลาเทวดาป่า, ปลาเทวดาอัลตั้ม Pterophyllum altum

                             ปลาเทวดาอัลตั้ม เทวดาป่า


           ปลาเทวดาป่า, ปลาเทวดาอัลตั้ม Pterophyllum altum เป็นปลาเทวดา ชนิดที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีความสูงของลำตัวเมื่อโตได้เต็มที่ถึง 15 นิ้ว ขณะที่ความยาวจากหัวถึงหางเพียง 8 นิ้วเท่านั้น มีหน้าผากที่ลาดกว่าชนิดอื่น ๆ มีพื้นลำตัวสีเทาอมเขียวและมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว และมีลายเส้นสีดำจนหรือสีน้ำตาลไหม้พาดลำตัวเป็นแนวตั้งกลมกลืนกับจุดบนลำตัวก็ได้ โดยเส้นที่ยาวสุดจะเป็นเส้นที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นบริเวณโคนหาง
และสำหรับในชนิด P.altum นั้น ในปัจจุบันได้มีการนิยมเลี้ยงกันมากขึ้น โดยมีชื่อเรียกกันว่า “เทวดาป่า” หรือ “เทวดาอัลตั้ม” แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงค่อนข้างยาก เนื่องจากปลามักปรับตัวให้กับสภาพน้ำไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว


2.ปลาเทวดาสวยงาม Pterophyllum scalare


                            ปลาเทวดา ปลาสวยงาม


         ปลาเทวดา Pterophyllum scalare เป็นปลาเทวดา มีลักษณะภายนอกเหมือนชนิด P.altum ทุกประการ แต่มีขนาดลำตัวที่เล็กลงมากว่ามาก ซึ่งปลาในชนิดนี้ จัดเป็นต้นตระกูลของปลาเทวดาสวยงาม ทั้งหมดที่นิยมเลี้ยงกันเป็น ปลาตู้สวยงามเช่นทุกวันนี้
ปลาเทวดา Pterophyllum scalare ได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน โดยผู้เลี้ยงนิยมเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปลาเทวดาเป็นปลาที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย โดยมนุษย์นั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ของปลาเทวดาชนิด Pterophyllum scalare นี้ ให้มีสีสัน ลวดลายแตกต่างจากเดิมไปมาก เช่น
  • ปลาเทวดาลายหินอ่อน ที่มีสีสันเป็นสีดำสลับกับขาวทั้งตัว
  • ปลาเทวดาดำ ที่เป็นสีดำทั้งตัว
  • ปลาเทวดาแพล็ตตินั่ม ที่มีทั้งสีขาวสะอาดตา ดวงตาสีดำ
  • ปลาเทวดาเผือกตาแดง สีทองเหลือบเป็นประกายทั้งตัว ดวงตาสีแดง
  • ปลาเทวดามุก ที่เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ดูสะอาดตาทั้งตัว
  • ปลาเทวดาครึ่งชาติ ที่เป็นสีดำ ครึ่งตัว ไปทางหาง
เป็นต้น

3.ปลาเทวดา Pterophyllum leopoldi


                             
ปลาเทวดา

            ปลาเทวดา Pterophyllum leopoldi มีรูปร่างอ้วนสั้น เนื่องจากมีครีบบนและครีบล่างสั้นกว่าชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด และมีจุดใหญ่สีเข้มบนเส้นที่ 4 ที่คาดลำตัวโดยบางตัวก็จะอยู่บริเวณติดกับครีบบน และส่วนหน้าผากจะมีแนวลาดมากกว่า นอกจากนี้ ปลาเทวดาสายพันธุ์นี้ยังมีจุดเด่นพิเศษอีกอย่างคือ ลายเส้นเล็กที่อยู่ระหว่างเส้นใหญ่คาดตา และเส้นใหญ่คาดอกนั้น จะเป็นเส้นเล็กจาง ๆ 2 เส้น ไม่ได้เป็นเส้นเดียวเหมือน 2 ชนิดข้างต้น และมีความแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือมีเหลือบสีฟ้าเปล่งประกายทั่วทั้งตัว

การเพาะขยายพันธุ์ ของปลาเทวดา
         
การขยายพันธุ์ของปลาเทวดา สามารถกระทำได้ในตู้เลี้ยง โดยวางไข่ติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีลักษณะค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง การวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 300-1,000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 36 ชั่วโมง ปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้มีอายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป            ในสมัยอดีต ในการทำเหมืองใต้ ดิน จะมีการนำปลาเทวดาหย่อนลงไปทดสอบก่อนที่มนุษย์จะลงไป เนื่องจากอาจมีก๊าซพิษอยู่ภายในใต้ดิน เพราะปลาเทวดาเป็นปลาที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศง่ายมาก ซึ่งจากการช่วยไม่ให้มีมนุษย์ต้องตายนั้นจึงทำให้ได้ชื่อว่า “Angel fish” หรือ “ปลาเทวดา”

พันธุ์ปลาเทวดาต่างงๆ
ปลาเทวดาครึ่งชาติ

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา ครีบยาว

ปลาเทวดา



ปลาเทวดาแฟนซี Koi


ปลาเทวดา


ปลาเทวดาลายมุก

ปลาเทวดา

ปลาเทวดาลายหินอ่อน

ปลาเทวดา

ที่มา 
http://www.อาชีพเสริม.th/
         www. 
th.wikipedia.org



















  












วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การลี้ยงปลาทอง

                                             ปลาทอง

                                                    


                                              ถิ่นกำเนิด

          ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้วก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติสืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE                                                               

                                                            สายพันธุ์

                                                   ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น

                                                  

             ปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์จากญี่ปุ่นนี้ จัดได้ว่าเป็นปลาทองหัวสิงห์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นปลาที่มีทรวดทรงสวยงามและมีสีสันเข้มสด ทำให้แลดูเด่นสะดุดตาเป็นที่ประทับตาประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น โดยเฉพาะเป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นผสมคัดพันธุ์มาจากปลาทองหัวสิงห์จีน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมปลาทองสายพันธุ์นี้จึงได้รับความนิยมสูงกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน สำหรับหลักเกณฑ์การสังเกตปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น ได้แก่

1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว
2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง6. ส่วนหัวที่เป็นวุ้นควรมีขนาดเล็กละเอียดและมีขนาดไล่เลี่ยกันและที่สำคัญก็คือวุ้นควรดกหนา

                                                     ปลาทองออรัดา
 
                                                            
   

   
 ในประเทศญี่ปุ่นปลาทองชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ออแรนดา ชิชิงาชิระ” (Oranda Shishigashira) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Dutch Lionhead” ปลาทองสายพันธุ์นี้ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรก แต่จะเพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าคงเกิดขึ้นในราวปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายในต้นศตวรรษที่ 19           ลักษณะปลาทองชนิดนี้คือมีลำตัวค่อนข้างยาว ครีบ และหางมีลักษณะยาว ส่วนหัวมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณหัวด้านบนมีวุ้นขึ้นหนาแลดูลักษณะคล้ายปลาสวมหมวกไว้บนหัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาทองหัวสิงห์โต แต่ความหนาของวุ้นมีไม่มากเท่า โดยปกติวุ้นจะมีลักษณะเล็กและละเอียดกว่าวุ้นของปลาทองหัวสิงห์ แต่ก็มีปลาบางตัวที่มีวุ้นขึ้นดกหนาจนดูคล้ายปลาทองหัวสิงห์เช่นกัน              ปลาทองออแรนดาหัววุ้นจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวโดยถัวเฉลี่ยของปลาเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 30 ซม. เมื่อวัดจากหัวจรดปลายหาง มีนักเลี้ยงบางท่านสามารถเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่ได้ถึง 60 ซม. ทีเดียว (ต่อมาเริ่มรู้จักกันในนามพันธุ์ ออแรนดายักษ์)             โดยปกติแล้วปลาชนิดนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า โดยเฉพาะการพัฒนาการของวุ้นบนหัวค่อนข้างช้ามาก แต่เมื่อปลาเริ่มโตและมีวุ้นขึ้นบนหัวเด่นชัดจะเป็นที่นิยมมาก ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องซื้อขายกันในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย              อย่างไรก็ตาม ปลาชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นปลาทองที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย เพราะเป็นปลาที่มีความอดทน สำหรับวงจรชีวิตของปลาพันธุ์นี้จะอยู่ช่วงประมาณ 5-10 ปี โดยปกติชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ และไม่ชอบแสงแดดจ้ามากนัก ดังนั้นจึงไม่ควรเลี้ยงไว้ในที่กลางแจ้งซึ่งมีแดดส่องตลอดเวลา และถ้าหากต้องการให้ปลามีวุ้นดกหนาก็ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีระดับสูงจนเกินไป           สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความสวยงามของปลาชนิดนี้ คือ ส่วนหัวจะต้องมีวุ้นขึ้นดกหนา วุ้นจะต้องมีขนาดเล็กละเอียดและไล่เลี่ยกัน ลำตัวจะต้องได้สัดส่วนกับส่วนหัวและหาง หางควรมีลักษณะยาวไม่หักหรือคดงอหรือพับ สีจะต้องสด กรณีที่เป็นปลาสีขาวล้วนก็ไม่ควรที่จะมีสีเหลืองแซม ซึ่งปัจจุบันลวดลาย ขาว แดง กำลังเป็นที่นิยมมากในบ้านเรา   

                                                             
  ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

                                                                    

         ลักษณะเด่นจะมีวุ้นขึ้นครอบคลุมบริเวณส่วนหัวทั้งหมดซึ่งรวมถึงส่วนเหงือกของปลาด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่า แก้มปลา หรือเขี้ยวปลา นั่นเอง โดยวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะมีขนาดใหญ่มาก จนทำให้หัวของปลาแลดูไม่ค่อยกลม แต่จะดูคล้ายหน้าของยักษ์ (มีเขี้ยว) ซึ่งปลาทองหัวสิงห์พันธุ์นี้โดยมากมักจะมีแผ่นหลังไม่สวยงามเหมือนพันธุ์อื่น ๆวิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
วิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
           สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความสวยงามของปลาชนิดนี้ คือ ส่วนหัวจะต้องมีวุ้นขึ้นดกหนา วุ้นจะต้องมีขนาดเล็กละเอียดและไล่เลี่ยกัน ลำตัวจะต้องได้สัดส่วนกับส่วนหัวและหาง หางควรมีลักษณะยาวไม่หักหรือคดงอหรือพับ สีจะต้องสด กรณีที่เป็นปลาสีขาวล้วนก็ไม่ควรที่จะมีสีเหลืองแซม ซึ่งปัจจุบันลวดลาย ขาว แดง กำลังเป็นที่นิยมมากในบ้านเรา

                                                       ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

                                                            

        
ลักษณะเด่นจะมีวุ้นขึ้นครอบคลุมบริเวณส่วนหัวทั้งหมดซึ่งรวมถึงส่วนเหงือกของปลาด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่า
แก้มปลา หรือเขี้ยวปลา นั่นเอง โดยวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะมีขนาดใหญ่มาก จนทำให้หัวของปลาแลดูไม่ค่อยกลม แต่จะดูคล้ายหน้าของยักษ์ (มีเขี้ยว) ซึ่งปลาทองหัวสิงห์พันธุ์นี้โดยมากมักจะมีแผ่นหลังไม่สวยงามเหมือนพันธุ์อื่น ๆวิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป



                             ปลาทองโตซากิ้น

                                                 

         ปลาทองพันธุ์โตซากิ้น TOSAKIN หรือที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกชื่อสั้นๆว่า "TOSA" เป็นปลาทองที่ถือกำเนิดขึ้นมาในราวปี ค.ศ. 1845 ณ เมือง KOCHI ในประเทศญี่ปุ่นโดย นาย KATSUSABURO SUGA ได้นำปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์โอซาก้ามาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองริวกิ้น ซึ่งเขาได้พบว่าลูกปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้มีบางส่วนมีลักษณะผ่าเหล่าไปจากลูกปลาทองตัวอื่นๆ โดยลูกปลาที่มีลักษณะผ่าเหล่าจะมีส่วนหางที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองทั่วๆไป อย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพราะครีบของปลาทองเหล่านั้นแทนที่จะตั้งชันหรือเบ่งบานเหมือนปลาพ่อแม่พันธุ์ แต่กลับมีปลายหางทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นคือ ครีบหางด้านข้างทั้งสองข้างจะตั้งชันและยื่นชี้ไปทางด้านหน้าของลำตัว ส่วนครีบหางตรงกลางกลับหักมุมลงด้านล่าง ช่วยให้ครีบหางของปลาเกิดเป็นรอนคล้ายรูปคลื่น โดยเฉพาะหางของปลามีลักษณะบาน               สำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจากความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของรูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้นที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควรมีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์           คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้นนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร             เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า 6 นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่ 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 15-25
               สำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจากความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของรูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้นที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควรมีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์           คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้นนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร             เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า 6 นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่ 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 15-25 องศาเซลเซียส
                                                     ปลาทองเกล็ดแก้ว


                                                  


         ปลาทองลูกกอล์ฟใต้น้ำสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นปลาทองที่แปลกไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้วนี้เป็นปลาที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ซึ่งปลาทองสายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือเป็นปลาทองที่มีลำตัวกลมมากจนคล้ายลูกปิงปอง โดยเฉพาะเกล็ดบนลำตัวจะมีลักษณะนูนขึ้นจนเป็นตุ่มซึ่งผิดกับเกล็ดของปลาทองโดยทั่วไป ส่วนหัวมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีส่วนหัวเล็กที่สุดก็ว่าได้ และจากลักษณะพิเศษเฉพาะนี้ทำให้ปลาทองเกล็ดแก้วดังข้ามทะเลไปสร้างชื่อเสียงไกลถึงต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก ในนามของ "PEARL SCALE GOLDFISH"           สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย            สำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว            สำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

                                                               
การเลี้ยงดู

             ปลาทองจะมีรูปร่างลักษณะที่สวยงามหรือไม่นั้นที่สำคัญก็คือการเจริญเติบโตของตัวปลาในระหว่าง 2-3 เดือน ในการเลี้ยงปลาทองแสงแดด ความอบอุ่น และอาหารอย่างเหลือเฟือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การเลี้ยงปลาทองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ปลาที่สวยงามและแข็งแรง ปลาทองที่อยู่ตามธรรมชาติมีอายุยืนมาก เฉลี่ยแล้วอยู่ได้ถึง 50 ปี แต่นำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้จากที่อายุยืนที่สุดที่เคยเลี้ยงกันได้อายุยืน15 ปี แต่ส่วนมากมักเลี้ยงได้แค่ 4-5 ปีเท่านั้นปลาก็ตายปลาทองไม่ปลาที่เลี้ยงในตู้ เป็นปลาที่ชอบอยู่ในบ่อมากกว่าไม่ชอบน้ำเย็นแต่ชอบน้ำอุ่น น้ำที่นับว่าเหมาะสมกับปลาทองอย่างยิ่งคือน้ำจืดที่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาฟาเรนไฮ น้ำที่เลี้ยงปลาทองต้องสะอาด ปลาทองเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็วและกินจุ สามารถเลี้ยงได้ในภาชนะที่ตื้น ๆ และมีผิวหนากว้าง ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองอาจจะเลี้ยงในในตู้กระจก อ้างบัวหรือถังส้วมก็ได้ ระดับน้ำควรลึกประมาณ 20-40 ซม. หากลึกกว่านี้ปลาจำเป็นต้องว่ายน้ำตลอดเวลา จะทำให้หางลู่หมดความสวยงาม การจับปลาควรทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้หางพับหรือหัก ซึ่งเสียความสวยงาม ปากบ่อควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระโดดและศัตรูที่จ้องจะกิน เช่น แมว และนก        อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทองจะใช้ขนมปัง ลูกน้ำ ข้าวสุก แหนเล็ก ๆ หรือจะใช้อาหารเม็ดเลี้ยงปลาที่มีขายตามร้านขายปลาซึ่งมีเปอร์เซนต์โปรตีนไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซนต์ ก็ได้ การเลี้ยงปลาทองเพื่อความสวยงามควรให้อาหารครั้งละน้อย ๆ พอปลากินหมดจะดูสวยงามและ
น้ำไม่ขุ่นง่าย
   
                                        การเพาะพันธุ์

          การเพาะพันธ์ปลาทองควรจัดภาชนะที่ใช้เพาะปลาโดยเฉพาะซึ่งมีเนื้อที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตรและลึก 20 เซนติเมตร บ่อเพาะควรล้างและทำความสะอาดอย่างดี ไม่มีศัตรูของปลา เช่น ปลาเล็กๆหรือหอย ฯลฯไข่ปลาทอง เป็นไข่นประเภทไข่ติด ดังนั้นการเพาะพันธ์ควรใช้สาหร่ายหรือเชือกฟางพลาสติกเป็นวัสดุที่ให้ไข่เกาะ อัตราการเพาะพันธ์ควรใช้ปลาตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว เพราะไข่ปลาตัวเมียมีปริมาณมาก การใช้ปลาตัวผู้มากกว่าตัวเมียจะทำให้อัตราการผสมของไข่ดีขึ้น เวลาที่ปลาลงบ่อเพาะควรเป็นเวลาเย็นเพื่อให้ปลาผสมพันธ์วางไข่ในเช้ารุ่งขึ้น ไม่ต้องให้อาหารปลาในขณะเพาะพันธ์ และควรให้ออกซิเจนหรือปั๊มอากาสในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะมีออกซิเจนในน้ำเพียงพอ         หลังจากที่ปลาวางใข่แล้วให้ย้ายพ่อแม่ปลาออก แล้วย้ายไข่ไปฟักในภาชนะที่มีน้ำคุณภาพดี ส่วนน้ำในบ่อเพาะควรเปลี่ยและดูดตะกอน เพราะยังมีไข่ผสมแล้งร่วงอยู่ที่พื้นจำนวนมาก ไข่ปลาทองมีสีเหลืองโปร่งแสง เวลาฟักเป็นตัวเวลา 2 วันในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ลูกปลาวัยอ่อนจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ติดตัวประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มกินอาหารขนาดเล็กๆ เช่น ไรน้ำ ลูกปลาที่ได้รับการดูแลอย่างดีมีขนาด 1-2 นิ้ว ในเวลา 2 เดือน          การเพาะพันธ์ปลาทองควรใช้ปลาพันธ์เดียวกันเป็นพ่อแม่พันธ์ แม้ว่าปลาทุก ๆ พันธ์จะสามารถผสมกันได้ แต่ก็จะไดลูกปลาที่มีลักษณะแปลก ๆ ไม่สวยงามตามที่นักเลี้ยงปลานิยม แต่หากท่านอยากจะทดลองเพาะดูเพื่อศึกษาเองก็ไม่ผิดกติกาอันใด 
ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ปลามังกร

                                          ปลามังกร
                                                   
                                            ถิ่นกำเนิด
ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้)ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ
ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด
ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด
ทวีปอัฟริกา 1 ชนิดทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4  สายพั  สายพันธุ์
                           Silver  Arowana
                  


             ปลาอะโรวาน่าเงินเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนและในกิอานาประเทศบราซิลและเปรู ..ลักษณะของปลาชนิดนี้คือมีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวส่วนท้ายจะเลียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนมองเห็นได้ชัดส่วนท้องมีลักษณะแบนจนใต้ท้องเป็นสันแหลม ขณะที่ปลายังเล็กจะมีจุดสีน้ำเงินและล้อมรอบด้วยวงแหวนสีชมพู ที่ลำตัวบริเวณหลังแผ่นเหงือก ลำตัวโดยทั่วไปจะมีสีเงินแวววาวและมีลายสuชมพูคาดอยู่ที่วงเกล็ดแต่ละเกล็ด แต่มีปลาในบางแหล่งน้ำที่เกล็ดบนลำตัวจะมีสีเหลือบกันหลายสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า จนดูคล้ายกับสีรุ้งหรือสีของเปลือกหอยบริเวณครีบและหางโดยมากจะเป็นสีฟ้าหม่น บ้างก็ออกเหลืองหรือเขียวแต่สีไม่สดใสมากนัก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่มาก จัดได้ว่าเป็นปลาอะโรวาน่าที่มีขนาดปากใหญ่และยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนกับปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ ที่มีขนาดความยาวเท่ากันบริเวณริมฝีปากล่างมีหนวดอยู่ 1 คู่ ซึ่งก็จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีหนวดขนาดใหญ่และยาวที่สุดอีกเช่นกัน เกล็ดมีขนาดใหญ่และแข็ง เกล็ดตามเส้นข้างตัวมีจำนวนทั้งสิ้น 31-35 เกล็ด ริมฝีปากล่างโดยปกติจะยื่นล้ำออกไปมากกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ครีบทวารมีลักษณะยาว เริ่มจากกึ่งกลางลำตัวยาวไปจรดโคนหาง มีก้านครีบทั้งหมด 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบทวารแต่มีขนาดสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านรคีบทั้งหมด 42-46 ก้านครีบท้องมีขนาดเล็ก แต่ก้านครีบก้านแรก จะมีลักษณะยาวมาก เมื่อปลาโตเต็มที่จะมีความยาวเฉลี่ย 1-1.2 ม.              ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมแพร่หรายมากที่สุด เนื่องจากเป็นปลาที่มีความอดทนเลี้ยงง่ายและมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก แถมยังเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่หาซื้อง่ายและมีราคาถูกที่สุด

                                               
Green  Arowana
                              
                 ปลาอะโรวาน่าเขียวหรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่าปลาตะพัด มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปตามแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เท่าที่เคยมีการสำรวจพบในประเทศไทยที่จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง และจังหวัดภาคใต้ที่มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังสำรวจพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียจะเห็นได้ว่าปลาสายพันธุ์นี้มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ดังนั้นาจึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีปะปนมากับอะโรวาน่าทองหรือแดงอยู่เสมอเพราะที่จริงแล้วปลาทั้ง 4 สายพันธุ์ที่ว่าก็คือปลาชนิดเดียวกัน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันจึงทำให้ปลาในแต่ละแหล่งน้ำมีสีสันไม่เหมือนกันแต่ก็ยังมีปลาอีกบางส่วนที่มีลักษณะสีสันใกล้เคียงกันมากจนทำให้วงการปลาเกิดการปั่นปวนอยู่เนือง ๆ               โดยปกติปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีเขียว จะมีลำตัวเป็นพื้นสีเงินจึงมีชื่อว่า SIVER AROWANA และบางแหล่งก็เรียกว่า PLAPINUM AROWANA แต่ที่นิยมเรียกมากที่สุดคือ GREEN AROWANA บริเวณแผ่นหลังจะมีสีน้ำตาลออกเขียว ครีบและหางออกสีเขียวอมน้ำตาลหรือดำ ปลาในบางแหล่งน้ำที่บริเวณวงในของเกล็ดจะมีสีคล้ำเล็กน้อย บ้างก็มีเกล็ดสีเงินเหลือบเขียว ความนิยมในปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้สำหรับในบ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากเหตุผลที่ว่าไม่ค่อยมีสีสันดึงดูดใจเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราคาของปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้มีราคาถูกที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมดในเอเซีย แต่ถึงอย่างไรก็ตามในอดีตปลาอะโรวาน่าเขียวก็มักจะหลงเข้าไปอยู่ในตู้ปลาของนักเลี้ยงปลาเป็นประจำสาเหตุไม่ใช่ว่านักเลี้ยงปลาต้องการจะเลี้ยงปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้ แต่เนื่องจากเกิดจากการผิดพลาดในการแยกสายพันธุ์ของปลาตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น บวกกันถูกพ่อค้าแม่ค้าต้มตู๋นจึงทำให้ปลาอะโรวาน่าเขียวกลายเป็นปลายอดนิยมโดยผู้เลี้ยงไม่ได้ตั้งใจ
                                                   Red Arowana
                            
              ปลาสายพันธุ์นี้พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศอินโดนีเซียที่บังกากาลิมันตัวและเกาะสุมาตราลักษณะของปลาสายพันธุ์นี้เกล็ดบนลำตัวจะออกสีส้มอมทอง หรือสีส้มอมเขียว บางตัวที่มีสีเข้มหน่อยก้ออกสีทองอมแดง ครีบและหางจะออกสีแดงคล้ายสีเลือดนก ปลาสายพันธุ์นี้จัดว่ามีราคาแรงและได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่ามาเลเซีย ทั้งนี้เนื่องจากปลาที่มีสีแดงเข้มสดจริง ๆ หายากมากดังนั้นคนจึงนิยมหันไปเลี้ยงปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์แทน เพราะแต่ละตัวโดยโดยมากจะมีสีทองแวววาวไม่แพ้กันเท่าไหร่ ปลาอะโรวาน่าแดงจัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างหายากอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงามจริง ๆ แต่เดิมปลาสายพันธุ์นี้ถูกจัดรวมอยู่ในปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีทองแต่เนื่องจากสีทองของปลาพันธุ์นี้ จะออกสีส้มแดง จึงได้มีการแยกออกเป็นสายพันธุ์สีแดงในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงหลังปรากฎว่าปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้กลับได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว              จนปัจจุบันราคาปลาสายพันธุ์นี้ได้เขยิบตัวสูงขึ้นมากทีเดียว สำหรับแหล่งปลาอะโรวาน่าแดงที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นแหล่งของปลาอะโรวาน่าแดงที่มีสีสันสวยงามที่สุดอยู่ที่รัฐกาลิมันตันและเท่าที่ทราบราคาปลาที่ซื้อขายกัน ปลาอะโรวาน่าที่นี่จะมีราคาแพงกว่าปลาอะโรวาน่าแดงจาแหล่งน้ำอื่น ๆ เพราะตลาดมีความต้องการมาก ทำให้พ่อค้าคนไทยมักสู้ราคาไม่ไหวจึงทำให้ปลาอะโรวาน่าแดงที่สั่งเข้ามาจำหน่ายโดยมากจะเป็นปลาอะโรวาร่าแดงที่มีสีสันไม่สดสวยเท่าที่ควรจึงเป็นที่น่าวิตกว่าอนาคตความนิยมในปลาอะโรวาน่าแดงในบ้านเราอาจจะลดน้อยลงเนื่องจากปลาที่เลี้ยงพอโตขึ้นมากลับมีสีสันไม่สวยดึงดูดใจเท่าที่ควรและอาจทำให้นักเลี้ยงปลาเลิกให้ความสนใจแก่ปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้ เนื่องจากไม่มีโอกาสได้เห็นปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีแดง ที่มีความสวยงามจริง ๆ               ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2539) ปลาอะโรวาน่าแดงส่วนใหญ่ที่สั่งเข้ามาจำหน่าย โดยมากจะเป็นปลาที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงแทบทั้งสิ้นดังนั้นในด้านของคุรภาพสีจึงค่อนข้างแน่นอนกว่าแต่ก่อนมากทีเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีน้อยตัวที่มีสีแดงเข้มสดเหมือนสีเลีอดนกอยู่ดี
                                           
Golden Arowana
                           
            เนื่องจากปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้พบอยู่ที่อินโดนีเซียที่บังกา กาลิมันตันและสุมาตรา จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักเรียกชื่อสายพันธุ์นี้ตามแหล่งที่มาของปลา ปลาสายพันธุ์นี้เกล็ดบนลำตัวจะมีสีทองอร่าม บริเวณแผ่นหลังจะออกสีน้ำตาลแกมเขียวคล้ำถึงน้ำตาลดำ โดยปกติสีทองของเกล็ดจะขึ้นไม่ถึงเกล็ดแผ่นหลัง ครีบอกโดยทั่วไปจะมีสีเหลืองทองปนแดง ครีบหางและครีบทวารจะมีสีแดงออกสีเลือดหมู ส่วนครีบหลังโดยมากจะออกสีแดงคล้ำจนออกสีน้ำตาลปนดำ ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในโซนเอเซียที่ค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุดเมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่นที่มีสีสันสวยงามพอ ๆ กัน
                              Black Arowana
                                    

              ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้เป็นปลาที่เพิ่งสำรวจพบเมื่อประมาณปี คศ 1966 จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แหล่งที่สำรวจพบปลาอะโรวาน่าดำครั้งแรกอยู่ในประเทศบราซิลบริเวณแม่น้ำริโอนิโก บรานโก ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้มีรูปร่างและสีสันคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมาก คือส่วนหัวมีขนาดใหญ่และส่วนท้ายเรียวเล็ก ลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ขณะที่ปลามีความยาวต่ำกว่า 5 นิ้ว ลงมาปลาจะมีแถบลายสีดำสลับเหลืองคาดตามความยาวลำตัว และเมื่อปลาเริ่มโตขึ้นแถบสีดำและเหลืองจะค่อย ฯ จางหายไป โดยเกล็ดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเงิน ครีบและหางจะออกสีน้ำเงินคล้ำจนเกือบดำ ขอบครีบหลัง ครีบทวารและหางจะมีสีชมพูนวล ฯ แลดูสดใสสวยงามมาก ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนสีของปลาอะโรวาน่าจะคล้ายปลาชะโดของไทย ที่ตอนเล็ก ฯ จะเป็นสีหนึ่ง แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะกลายเป็นอีกสี และในช่วงที่ปลาอะโรวาน่าดำเริ่มเปลี่ยนสีใหม่ ฯ จะเป็นช่วงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมากที่สุด ดังนั้นในการสังเกตลักษณะความแตกต่างของปลาอะโรวาน่าทั้ง 2 ชนิดนจึงควรสังเกตที่สีของครีบเป็นหลัก ปลาอะโรวาน่าดำครีบและหางจะมีสีน้ำเงินเข้ม แลดูคล้ำกว่าและที่ขอบครีบหลังครีบทวารจะมีสีเหลืองหรือสีส้มอมชมพูแซมอยู่เห็นได้ชัด ปลาอะโรวาน่าดำจัดว่าเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้ากว่าปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ เนื่องจากปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวราว 70-75 เซ้นติเมตรเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีขนาดเล็กที่สุด อย่างไรก็ตามปลาชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไม่น้อยเช่นกัน ในประเทศบราซิลได้ออกกฎหมายให้การคุ้มครองปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ เนื่องจากเกรงว่าหากไม่รีบทำการอนุรักษ์เสียแต่ตอนนี้ อีกไม่ช้าปลาอะโรวาน่าดำคงจะสูญพันธ์แน่นอน สำหรับขนาดของปลาที่นิยมซื้อขายกันมากที่สุดคือช่วงที่ปลามีขนาดระหว่าง 3-5 นิ้ว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลามีสีสันสวยสดงดงามมากจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด แต่ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ค่อนข้างจะเปราะบางและเลี้ยงยากกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน ดังนั้นจึงมักเกิดการตายในระหว่างที่มีการลำเลียงขนส่ง ยังผลให้ปลาอะโรวาน่าดำมีราคาต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน เป็นเหตุให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แต่ที่น่าสังเกตุก็คือเมื่อปลาอะโรวาน่าโตขึ้น กลับปรากฎว่าไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจเนื่องจากเมื่อปลาโตแล้วกลับมีรูปร่างและท่วงท่าในการว่ายน้ำไม่สง่างามเท่าปลาอะโรวาน่าเงินก็เป็นได้
                                          
การเลี้ยงดู
1. การเตรียมตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยายแต่หากท่านที่มีเนื้อที่
           ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น
           ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด           เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่ น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่ น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้        เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา        เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ        เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง        เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ        เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก        เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น              หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้
                                                    
การเพาะพันธุ์
               ปลาในตระกูลอะโรวาน่าทั้งหมดเป็นปลาที่แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ฟักและเลี้องลูกในปาก ( MOUTH INCUBATOR ) ยกเว้นปลาอะราไพม่าซึ่งมีพฤติกรรมวางไข่คล้ายกับปลาช่อนในบ้านเรา โดยอัตราการวางไข่ของปลาอะโรวาน่าโดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 30-400 ฟองโดยประมาณ ไข่ปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-1.5 เซนติเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและความสมบูรณ์ของไข่แต่ละฟอง โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบอเมริกาใต้จะมีขนาดเล็กกว่าไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียซึ่งไข่ของปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-0.8 เซ็นติเมตร ในขณะที่ปลาอะโรวาน่าโซนเอเซียจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1-1.5 เซ็นติเมตร โดยรูปทรงของไข่ปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่ ส่วนไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียจะเป็นรูปทรงค่อนข้างกลมขนาดและลักษณะคล้ายเมล็ดลำใย โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าแต่ละชนิดจะมีสีสันคล้าย ๆ กันคือออกสีเหลืองหรือสีส้มอม เหลือง ปกติไข่จะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวราว 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละช่วงว่าจะสูงหรือต่ำ หากอุณหภูมิน้ำสูงไข่ก็จะฟักเป็นตัวเร็วขึ้น ในธรรมชาติหลังจากพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์วางไข่เสร็จแล้วพ่อแม่ปลาจะอมไข่และฟักลูกในปากโดยในขณะที่ปลาตัวเมียวางไข่ตัวผู้ก็จะว่ายคลอเคลียพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ยามที่ลูกปลาเริ่มฟักเป็นตัวใหม่ ๆ จะมีถุงอาหารสีส้มลักษณะคล้ายกับลูกโป่งใบเล็ก ๆ ห้อยติดอยู่ที่ใต้ท้อง ซึ่งถุงอาหาร นี้จะค่อย ๆ ยุบตัวเมื่ออาหารสำรองในถุงถูกลูกปลาย่อยหมดแล้ว ในระหว่างนี้ พ่อแม่ปลาจะยังคงเลี้ยงลูกของตนไว้ในปากจนกระทั่งผ่านไปเป็นเวลาเดือนเศษเมื่อลูกปลาเริ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองในการหาอาหารได้แล้ว พ่อแม่ปลาก็ จะผละจากไปโดยในช่วงแรกลูกปลาที่เพิ่งแยกจากพ่อแม่จะจับกลุ่มรวมเป็น ฝูงลอยคออยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะค่อย ๆ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยจะเริ่มกัด ทำร้ายกันเอง จนในที่สุดก็จะว่ายแตกฝูงกันไปคนละทิศละทาง โดยจะยังจับกลุ่มกันเป็นฝูงย่อย ๆ ฝูงละไม่กี่ตัว ซึ่งโดยมากจะพบแค่ฝูงละ3-5 ตัวเป็นอย่างมาก