วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ปลามังกร

                                          ปลามังกร
                                                   
                                            ถิ่นกำเนิด
ปลาอะโรวาน่าหรือปลาตะพัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae (ออสทีโอกลอสซิดี้)ปลาในตระกูลนี้หากจัดแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัยหรือเขตุภูมิภาคที่พบซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากลจะแบ่งออกเป็น 4 สกุล(Genus) และมี 7 ชนิด (Species) คือ
ทวีปอเมริกาใต้ 3 ชนิด
ทวีปออสเตรเลีย 2 ชนิด
ทวีปอัฟริกา 1 ชนิดทวีปเอเซีย 1 ชนิด (4  สายพั  สายพันธุ์
                           Silver  Arowana
                  


             ปลาอะโรวาน่าเงินเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนและในกิอานาประเทศบราซิลและเปรู ..ลักษณะของปลาชนิดนี้คือมีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวส่วนท้ายจะเลียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนมองเห็นได้ชัดส่วนท้องมีลักษณะแบนจนใต้ท้องเป็นสันแหลม ขณะที่ปลายังเล็กจะมีจุดสีน้ำเงินและล้อมรอบด้วยวงแหวนสีชมพู ที่ลำตัวบริเวณหลังแผ่นเหงือก ลำตัวโดยทั่วไปจะมีสีเงินแวววาวและมีลายสuชมพูคาดอยู่ที่วงเกล็ดแต่ละเกล็ด แต่มีปลาในบางแหล่งน้ำที่เกล็ดบนลำตัวจะมีสีเหลือบกันหลายสี เช่น สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า จนดูคล้ายกับสีรุ้งหรือสีของเปลือกหอยบริเวณครีบและหางโดยมากจะเป็นสีฟ้าหม่น บ้างก็ออกเหลืองหรือเขียวแต่สีไม่สดใสมากนัก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่มาก จัดได้ว่าเป็นปลาอะโรวาน่าที่มีขนาดปากใหญ่และยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนกับปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ ที่มีขนาดความยาวเท่ากันบริเวณริมฝีปากล่างมีหนวดอยู่ 1 คู่ ซึ่งก็จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีหนวดขนาดใหญ่และยาวที่สุดอีกเช่นกัน เกล็ดมีขนาดใหญ่และแข็ง เกล็ดตามเส้นข้างตัวมีจำนวนทั้งสิ้น 31-35 เกล็ด ริมฝีปากล่างโดยปกติจะยื่นล้ำออกไปมากกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ครีบทวารมีลักษณะยาว เริ่มจากกึ่งกลางลำตัวยาวไปจรดโคนหาง มีก้านครีบทั้งหมด 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบทวารแต่มีขนาดสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านรคีบทั้งหมด 42-46 ก้านครีบท้องมีขนาดเล็ก แต่ก้านครีบก้านแรก จะมีลักษณะยาวมาก เมื่อปลาโตเต็มที่จะมีความยาวเฉลี่ย 1-1.2 ม.              ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมแพร่หรายมากที่สุด เนื่องจากเป็นปลาที่มีความอดทนเลี้ยงง่ายและมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก แถมยังเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่หาซื้อง่ายและมีราคาถูกที่สุด

                                               
Green  Arowana
                              
                 ปลาอะโรวาน่าเขียวหรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่าปลาตะพัด มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วไปตามแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เท่าที่เคยมีการสำรวจพบในประเทศไทยที่จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง และจังหวัดภาคใต้ที่มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังสำรวจพบปลาสายพันธุ์นี้ในประเทศลาว เขมร เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียจะเห็นได้ว่าปลาสายพันธุ์นี้มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ดังนั้นาจึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีปะปนมากับอะโรวาน่าทองหรือแดงอยู่เสมอเพราะที่จริงแล้วปลาทั้ง 4 สายพันธุ์ที่ว่าก็คือปลาชนิดเดียวกัน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันจึงทำให้ปลาในแต่ละแหล่งน้ำมีสีสันไม่เหมือนกันแต่ก็ยังมีปลาอีกบางส่วนที่มีลักษณะสีสันใกล้เคียงกันมากจนทำให้วงการปลาเกิดการปั่นปวนอยู่เนือง ๆ               โดยปกติปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีเขียว จะมีลำตัวเป็นพื้นสีเงินจึงมีชื่อว่า SIVER AROWANA และบางแหล่งก็เรียกว่า PLAPINUM AROWANA แต่ที่นิยมเรียกมากที่สุดคือ GREEN AROWANA บริเวณแผ่นหลังจะมีสีน้ำตาลออกเขียว ครีบและหางออกสีเขียวอมน้ำตาลหรือดำ ปลาในบางแหล่งน้ำที่บริเวณวงในของเกล็ดจะมีสีคล้ำเล็กน้อย บ้างก็มีเกล็ดสีเงินเหลือบเขียว ความนิยมในปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้สำหรับในบ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากเหตุผลที่ว่าไม่ค่อยมีสีสันดึงดูดใจเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราคาของปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้มีราคาถูกที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมดในเอเซีย แต่ถึงอย่างไรก็ตามในอดีตปลาอะโรวาน่าเขียวก็มักจะหลงเข้าไปอยู่ในตู้ปลาของนักเลี้ยงปลาเป็นประจำสาเหตุไม่ใช่ว่านักเลี้ยงปลาต้องการจะเลี้ยงปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้ แต่เนื่องจากเกิดจากการผิดพลาดในการแยกสายพันธุ์ของปลาตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น บวกกันถูกพ่อค้าแม่ค้าต้มตู๋นจึงทำให้ปลาอะโรวาน่าเขียวกลายเป็นปลายอดนิยมโดยผู้เลี้ยงไม่ได้ตั้งใจ
                                                   Red Arowana
                            
              ปลาสายพันธุ์นี้พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศอินโดนีเซียที่บังกากาลิมันตัวและเกาะสุมาตราลักษณะของปลาสายพันธุ์นี้เกล็ดบนลำตัวจะออกสีส้มอมทอง หรือสีส้มอมเขียว บางตัวที่มีสีเข้มหน่อยก้ออกสีทองอมแดง ครีบและหางจะออกสีแดงคล้ายสีเลือดนก ปลาสายพันธุ์นี้จัดว่ามีราคาแรงและได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่ามาเลเซีย ทั้งนี้เนื่องจากปลาที่มีสีแดงเข้มสดจริง ๆ หายากมากดังนั้นคนจึงนิยมหันไปเลี้ยงปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์แทน เพราะแต่ละตัวโดยโดยมากจะมีสีทองแวววาวไม่แพ้กันเท่าไหร่ ปลาอะโรวาน่าแดงจัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างหายากอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงามจริง ๆ แต่เดิมปลาสายพันธุ์นี้ถูกจัดรวมอยู่ในปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีทองแต่เนื่องจากสีทองของปลาพันธุ์นี้ จะออกสีส้มแดง จึงได้มีการแยกออกเป็นสายพันธุ์สีแดงในเวลาต่อมา ซึ่งในช่วงหลังปรากฎว่าปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้กลับได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว              จนปัจจุบันราคาปลาสายพันธุ์นี้ได้เขยิบตัวสูงขึ้นมากทีเดียว สำหรับแหล่งปลาอะโรวาน่าแดงที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นแหล่งของปลาอะโรวาน่าแดงที่มีสีสันสวยงามที่สุดอยู่ที่รัฐกาลิมันตันและเท่าที่ทราบราคาปลาที่ซื้อขายกัน ปลาอะโรวาน่าที่นี่จะมีราคาแพงกว่าปลาอะโรวาน่าแดงจาแหล่งน้ำอื่น ๆ เพราะตลาดมีความต้องการมาก ทำให้พ่อค้าคนไทยมักสู้ราคาไม่ไหวจึงทำให้ปลาอะโรวาน่าแดงที่สั่งเข้ามาจำหน่ายโดยมากจะเป็นปลาอะโรวาร่าแดงที่มีสีสันไม่สดสวยเท่าที่ควรจึงเป็นที่น่าวิตกว่าอนาคตความนิยมในปลาอะโรวาน่าแดงในบ้านเราอาจจะลดน้อยลงเนื่องจากปลาที่เลี้ยงพอโตขึ้นมากลับมีสีสันไม่สวยดึงดูดใจเท่าที่ควรและอาจทำให้นักเลี้ยงปลาเลิกให้ความสนใจแก่ปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้ เนื่องจากไม่มีโอกาสได้เห็นปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์สีแดง ที่มีความสวยงามจริง ๆ               ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2539) ปลาอะโรวาน่าแดงส่วนใหญ่ที่สั่งเข้ามาจำหน่าย โดยมากจะเป็นปลาที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงแทบทั้งสิ้นดังนั้นในด้านของคุรภาพสีจึงค่อนข้างแน่นอนกว่าแต่ก่อนมากทีเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีน้อยตัวที่มีสีแดงเข้มสดเหมือนสีเลีอดนกอยู่ดี
                                           
Golden Arowana
                           
            เนื่องจากปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์นี้พบอยู่ที่อินโดนีเซียที่บังกา กาลิมันตันและสุมาตรา จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักเรียกชื่อสายพันธุ์นี้ตามแหล่งที่มาของปลา ปลาสายพันธุ์นี้เกล็ดบนลำตัวจะมีสีทองอร่าม บริเวณแผ่นหลังจะออกสีน้ำตาลแกมเขียวคล้ำถึงน้ำตาลดำ โดยปกติสีทองของเกล็ดจะขึ้นไม่ถึงเกล็ดแผ่นหลัง ครีบอกโดยทั่วไปจะมีสีเหลืองทองปนแดง ครีบหางและครีบทวารจะมีสีแดงออกสีเลือดหมู ส่วนครีบหลังโดยมากจะออกสีแดงคล้ำจนออกสีน้ำตาลปนดำ ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นปลาในโซนเอเซียที่ค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลายที่สุดเมื่อเทียบกับปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่นที่มีสีสันสวยงามพอ ๆ กัน
                              Black Arowana
                                    

              ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้เป็นปลาที่เพิ่งสำรวจพบเมื่อประมาณปี คศ 1966 จัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แหล่งที่สำรวจพบปลาอะโรวาน่าดำครั้งแรกอยู่ในประเทศบราซิลบริเวณแม่น้ำริโอนิโก บรานโก ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้มีรูปร่างและสีสันคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมาก คือส่วนหัวมีขนาดใหญ่และส่วนท้ายเรียวเล็ก ลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ขณะที่ปลามีความยาวต่ำกว่า 5 นิ้ว ลงมาปลาจะมีแถบลายสีดำสลับเหลืองคาดตามความยาวลำตัว และเมื่อปลาเริ่มโตขึ้นแถบสีดำและเหลืองจะค่อย ฯ จางหายไป โดยเกล็ดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเงิน ครีบและหางจะออกสีน้ำเงินคล้ำจนเกือบดำ ขอบครีบหลัง ครีบทวารและหางจะมีสีชมพูนวล ฯ แลดูสดใสสวยงามมาก ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนสีของปลาอะโรวาน่าจะคล้ายปลาชะโดของไทย ที่ตอนเล็ก ฯ จะเป็นสีหนึ่ง แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะกลายเป็นอีกสี และในช่วงที่ปลาอะโรวาน่าดำเริ่มเปลี่ยนสีใหม่ ฯ จะเป็นช่วงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาอะโรวาน่าเงินมากที่สุด ดังนั้นในการสังเกตลักษณะความแตกต่างของปลาอะโรวาน่าทั้ง 2 ชนิดนจึงควรสังเกตที่สีของครีบเป็นหลัก ปลาอะโรวาน่าดำครีบและหางจะมีสีน้ำเงินเข้ม แลดูคล้ำกว่าและที่ขอบครีบหลังครีบทวารจะมีสีเหลืองหรือสีส้มอมชมพูแซมอยู่เห็นได้ชัด ปลาอะโรวาน่าดำจัดว่าเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้ากว่าปลาอะโรวาน่าชนิดอื่น ฯ เนื่องจากปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวราว 70-75 เซ้นติเมตรเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นปลาในตระกูลอะโรวาน่าที่มีขนาดเล็กที่สุด อย่างไรก็ตามปลาชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไม่น้อยเช่นกัน ในประเทศบราซิลได้ออกกฎหมายให้การคุ้มครองปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ เนื่องจากเกรงว่าหากไม่รีบทำการอนุรักษ์เสียแต่ตอนนี้ อีกไม่ช้าปลาอะโรวาน่าดำคงจะสูญพันธ์แน่นอน สำหรับขนาดของปลาที่นิยมซื้อขายกันมากที่สุดคือช่วงที่ปลามีขนาดระหว่าง 3-5 นิ้ว ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลามีสีสันสวยสดงดงามมากจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด แต่ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ค่อนข้างจะเปราะบางและเลี้ยงยากกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน ดังนั้นจึงมักเกิดการตายในระหว่างที่มีการลำเลียงขนส่ง ยังผลให้ปลาอะโรวาน่าดำมีราคาต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าปลาอะโรวาน่าเงิน เป็นเหตุให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมรองลงมาจากปลาอะโรวาน่าเงิน แต่ที่น่าสังเกตุก็คือเมื่อปลาอะโรวาน่าโตขึ้น กลับปรากฎว่าไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร สาเหตุอาจเนื่องจากเมื่อปลาโตแล้วกลับมีรูปร่างและท่วงท่าในการว่ายน้ำไม่สง่างามเท่าปลาอะโรวาน่าเงินก็เป็นได้
                                          
การเลี้ยงดู
1. การเตรียมตู้ การเลี้ยงปลามังกรนั้นผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึงเรื่องตู้เป็นอันดับแรก มาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้เลี้ยงนั้นคือ 60*24*24 นิ้ว หรือ ประมาณ 150*60*60 ซม. จะสามารถเลี้ยงจากขนาดเล็กที่มีขายตามร้านค้าทั่วไปจนถึง ขนาด 24 นิ้ว จะสามารถทำให้ท่านเลี้ยงได้ประมาณ 4-5 ปี แล้วจึงค่อยขยับขยายแต่หากท่านที่มีเนื้อที่
           ค่อนข้างจำกัดจริงๆก็สามารถเลี้ยงได้ตลอดไป แต่กระจกที่ใช้ควรจะหนาประมาณ 3 หุน ขึ้นไป และ ในกรณีที่พอมีเนื้อที่ในด้านกว้างที่พอจะเพิ่มได้ควรจะกว้างอย่างน้อย 30 นิ้ว หรือ 75 ซม. สูง 36 นิ้ว แต่จะให้ดีก็ กว้าง 36 นิ้ว หรือ 90 ซม. สูง 36 นิ้ว ไปเลยก็จะดี ปลาขนาดใหญ่จะได้ไม่เครียด”( ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อกันกระโดดด้วย ประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของปลา ) ที่ผมแนะนำอย่างนี้ก็เพื่อผู้เลี้ยงจะไม่ต้องเปลืองสตางค์ซื้อตู้บ่อยๆ แล้วตู้ที่ไม่ได้ใช้เกะกะเต็มบ้านจนต้องยอมขายถูกๆหรือไม่ก็ยกให้ใครไปฟรีๆ แต่ปัญหาที่พบบ่อยปลาเล็กในตู้ขนาดใหญ่ คือ ตื่นกลัว ทำให้การว่ายไม่สง่า ครีบลู่ วิธีแก้คือ หาแท้งค์เมท มาเพิ่มสัก 2-5 ตัว แล้วแต่ขนาดของตู้ ปลาที่ผมอยากจะแนะนำได้แก่ ปลานกแก้ว เป็นตัวหลัก เพราะ เป็นปลาที่ไม่มีข้อเสีย เลย แถมยังข้อดีเพียบ แต่ ไม่ควรใส่จนเยอะเกินไป หรือ นำนกแก้วที่มีขนาดใหญ่กว่าปลามังกรใส่ลงไป ก็จะสามารถแก้อาการตื่นกลัวได้ หากไม่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ปลาตื่นกลัว เช่น เด็กชอบมาทุบกระจก หรือ ตู้ปลาอยู่ตรงทางเดินที่มีคนพลุกพล่าน เป็นต้น
           ในกรณีท่านที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ เมื่อปลาได้ขนาด 16 –18 นิ้วแล้วจึงย้ายปลาไปอยู่ในตู้ที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้ปลาที่ท่านเลี้ยงโตขึ้นโดยไม่สะดุด และการว่ายจะไม่มีปัญหา และปลาจะไม่เกิดความเครียด           เมื่อท่านเลือกขนาดตู้ที่เหมาะสมแล้วนั้นการเลือกระบบการกรองชีวภาพ และรายละเอียดปลีกย่อยทุกอย่างล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น2. น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา จะต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน บางท่านอาจจะใช้การพักน้ำให้คลอรีนระเหยบ้าง ใช้เครื่องกรองน้ำบ้าง ( ข้อควรระวัง ห้ามใช้เครื่องกรองที่มีวัสดุกรองเป็นเรซินหรือเครื่องกรองน้ำที่ใช้ดื่ม วัสดุกรองที่ใช้กรองคลอรีนจะต้องเป็นถ่านกะลาเท่านั้น หากใช้คาร์บอนชนิดอื่นอาจทำให้น้ำเป็นด่างสูงเป็นอันตรายต่อปลาได้ ) คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามังกรนั้นค่อนข้างสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากให้ผมแนะนำการที่จะได้มาซึ่งคุณภาพน้ำสูงสุดนั้น ควรใช้น้ำปะปาแล้วต่อเครื่องกรองคลอรีนแล้วนำน้ำไปพักให้ตกตะกอนหากน้ำที่พักทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวันควรมีหัวทรายตีน้ำไว้เพื่อคงระดับออกซิเจนในน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย จะทำให้ท่านได้น้ำที่ปราศจากคลอรีน ใสไม่มีตะกอน และมีออกซิเจนสูง อุณหภูมิน้ำในตู้บริเวณผิวน้ำควรอยู่ระหว่าง 30-34 องศาเซลเซียส น้ำที่ต้องห้ามใช้เลี้ยงปลามังกร ได้แก่ น้ำที่มีสารเคมีทุกชนิดปนอยู่ น้ำที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำสกปรก คือน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณต่ำ3. อาหาร ที่ใช้เลี้ยงปลามังกรก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของปลา รวมถึงรูปทรงและสีสันของปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ แมลงเกือบทุกชนิด ลูกปลา หนอน ไส้เดือน กบ กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง รวมทั้ง อาหารเม็ด การให้อาหารปลามังกรนั้นไม่จำกัดตายตัว ว่าจะต้องกินอย่างไร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ความสะดวกของผู้เลี้ยง และอุปนิสัยการกินของปลาประกอบเข้าด้วยกัน แต่ที่ผมจะแนะนำคือ ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละวันนั้นจะต้องไม่มาก หรือน้อยเกินไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อปลาอิ่มจะไม่สนใจอาหารแล้วเชิดหน้าใส่ ยกเว้นจะเป็นของที่โปรดปรานจริงๆจึงจะฝืนกินจนพุงกางบางท่านชอบทำแบบนี้แล้วชอบใจว่าปลาของเรากินเก่ง แต่ผลเสียก็คือ ปลาของท่านจะเป็นโรคอ้วน เสียทรง ตาตก เพราะอาหารที่พวกมัน โปรดปรานส่วนใหญ่หนีไม่พ้นอาหารที่มีไขมันสูง อันได้แก่ หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด กบ ตะพาบ ซึ่งอาหารจำพวกนี้ควรควบคุมปริมาณที่ให้ในแต่ละวัน แต่จะงดไปเลยก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ปลาท่านไม่โต หรือโตช้า เนื่องจากอาหารจำพวกนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโต การให้อาหารที่ดีนั้น ท่านควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆเพื่อสุขภาพปลาของท่านจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานสูง เหมือนกับคนเราที่ได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้        เดือนมกราคม หนอนนก กุ้งฝอย ลูกปลา        เดือนกุมภาพันธ์ หนอนยักษ์ กุ้งฝอย ลูกกบ        เดือนมีนาคม จิ้งหรีด กุ้งฝอย เนื้อกุ้ง        เดือนเมษายน ตะขาบ กุ้งฝอย ลูกตะพาบ        เดือนพฤษภาคม แมลงป่อง กุ้งฝอย จิ้งจก        เดือนมิถุนายน ก็กลับหมุนเวียนเอาของเดือนมกราคมขึ้นมาใหม่ เป็นต้น              หรือ จะเอาทุกอย่างมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันก็ได้ แต่อาหารที่มีทั่วไปหาซื้อง่าย ได้แก่ หนอนนก กุ้งฝอย เนื้อกุ้งสด ลูกปลา จิ้งหรีด ลูกกบ อาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลามังกรได้แก่ แมลงสาบ ถ้าท่านไม่ได้เพาะพันธ์เองไม่ควรใช้ เนื้อหมู หรือ เนื้อวัว จะทำให้ย่อยยาก อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ หรือเมื่อใช้เลี้ยงไปนานๆปลาของท่านอาจจะตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะในเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้นจะมีพยาธิบางชนิดค่อยๆกัดกินอวัยวะภายในจนตาย เนื่องจากมันไม่ใช่อาหารของมันตามธรรมชาติ จึงไม่มีกลไกภายในร่างกายสามารถป้องกันได้
                                                    
การเพาะพันธุ์
               ปลาในตระกูลอะโรวาน่าทั้งหมดเป็นปลาที่แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ฟักและเลี้องลูกในปาก ( MOUTH INCUBATOR ) ยกเว้นปลาอะราไพม่าซึ่งมีพฤติกรรมวางไข่คล้ายกับปลาช่อนในบ้านเรา โดยอัตราการวางไข่ของปลาอะโรวาน่าโดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 30-400 ฟองโดยประมาณ ไข่ปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-1.5 เซนติเมตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและความสมบูรณ์ของไข่แต่ละฟอง โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบอเมริกาใต้จะมีขนาดเล็กกว่าไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียซึ่งไข่ของปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-0.8 เซ็นติเมตร ในขณะที่ปลาอะโรวาน่าโซนเอเซียจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1-1.5 เซ็นติเมตร โดยรูปทรงของไข่ปลาอะโรวาน่าเงินและดำจะมีลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่ ส่วนไข่ของปลาอะโรวาน่าทางแถบโซนเอเซียจะเป็นรูปทรงค่อนข้างกลมขนาดและลักษณะคล้ายเมล็ดลำใย โดยไข่ของปลาอะโรวาน่าแต่ละชนิดจะมีสีสันคล้าย ๆ กันคือออกสีเหลืองหรือสีส้มอม เหลือง ปกติไข่จะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวราว 2-5 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละช่วงว่าจะสูงหรือต่ำ หากอุณหภูมิน้ำสูงไข่ก็จะฟักเป็นตัวเร็วขึ้น ในธรรมชาติหลังจากพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์วางไข่เสร็จแล้วพ่อแม่ปลาจะอมไข่และฟักลูกในปากโดยในขณะที่ปลาตัวเมียวางไข่ตัวผู้ก็จะว่ายคลอเคลียพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่ที่ตัวเมียเบ่งออกมา ยามที่ลูกปลาเริ่มฟักเป็นตัวใหม่ ๆ จะมีถุงอาหารสีส้มลักษณะคล้ายกับลูกโป่งใบเล็ก ๆ ห้อยติดอยู่ที่ใต้ท้อง ซึ่งถุงอาหาร นี้จะค่อย ๆ ยุบตัวเมื่ออาหารสำรองในถุงถูกลูกปลาย่อยหมดแล้ว ในระหว่างนี้ พ่อแม่ปลาจะยังคงเลี้ยงลูกของตนไว้ในปากจนกระทั่งผ่านไปเป็นเวลาเดือนเศษเมื่อลูกปลาเริ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองในการหาอาหารได้แล้ว พ่อแม่ปลาก็ จะผละจากไปโดยในช่วงแรกลูกปลาที่เพิ่งแยกจากพ่อแม่จะจับกลุ่มรวมเป็น ฝูงลอยคออยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ แต่พอเริ่มโตขึ้นก็จะค่อย ๆ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยจะเริ่มกัด ทำร้ายกันเอง จนในที่สุดก็จะว่ายแตกฝูงกันไปคนละทิศละทาง โดยจะยังจับกลุ่มกันเป็นฝูงย่อย ๆ ฝูงละไม่กี่ตัว ซึ่งโดยมากจะพบแค่ฝูงละ3-5 ตัวเป็นอย่างมาก

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาออสการ์

                                    ปลาออสการ์


                                            


ถิ่นกำเนิด
           ต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยค้นพบในแม่น้ำอะเมซอน และลำน้ำสาขา เป็นปลาที่หวงถิ่น เดิมทีเป็นปลาที่ชาวบ้านแถบนั้นใช้เป็นอาหาร จนกระทั่งนักเลี้ยงปลาชาวยุโรปมาพบเข้าและติดใจในความสวยงามจึงนำกลับไปเลี้ยง จนกระทั่งแพร่หลายไปทั่วโลกในที่สุดแต่เดิมปลาออสการ์ไม่ได้มีสีสันสวยงามอย่างที่เราเห็น ปลาสายพันธุ์ดั้งเดิมที่จับจากแม่น้ำหรือปลาป่า จะมีเกล็ดสีแดงขึ้นแซมประปรายเพียงไม่กี่เกล็ดเท่านั้น ส่วนสีพื้นของลำตัวจะเป็นสีเทาดำ หรือเขียวมะกอก ต่อมาเมื่อมีการนำเข้าปลาชนิดนี้มาในเมืองไทย นักเพาะพันธุ์ชาวไทยได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายและสวยงามกว่าปลาป่ามาก โดยปลาที่เพาะได้ในตอนนั้นมีสีแดงเพิ่มขึ้นเป็นลวดลายเด่นชัดขึ้น และได้รับการขนานนามว่า "ปลาออสการ์ลายเสือ" (Tiger Oscar) ซึ่งสามารถ เลี้ยงรวม กับ ปลาขนาดยักษ์ Jumbo Fishes ที่มาจากลุ่มแม่น้ำ เดียวกันได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น ไทเกอร์โชว์เวสโนส, เรดเทลแคทฟิช, อะโรวาน่าเงิน เป็นต้น
สายพันธุ์
         นักเพาะพันธุ์ชาวไทยได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายและสวยงามกว่าปลาป่ามาก โดยปลาที่เพาะได้ในตอนนั้นมีสีแดงเพิ่มขึ้นเป็นลวดลายเด่นชัดขึ้น และได้รับการขนานนามว่า "ปลาออสการ์ลายเสือ" (
Tiger Oscar)
        
ลักษณะเด่นของปลาออสการ์ลายเสือ คือ มีแถบสีแดงพาดผ่านตั้งแต่บริเวณคอ ลำตัว และหางหลายส่วน และบริเวณโคนหางมีวงสีแดง นอกจากออสการ์ลายเสือแล้ว ในเวลาไม่นานนักเพาะพันธุ์ชาวไทยก็สร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อสามารถทำให้ปลาออสการ์มีสีแดงทั้งตัวได้ โดยได้รับการตั้งชื่อว่า "ออสการ์สีทอง" หรือ "ออสการ์แสงอาทิตย์" (Red Oscar)
ซึ่งทำให้ขณะนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาออสการ์ชาวไทยมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการส่งออกปลาตัวนี้ไปทั่วโลก หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการคิดค้นสายพันธุ์ปลาชนิดนี้ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ออสการ์เผือก หรือออสการ์หางยาว เป็นต้น
        
ปลาออสการ์ขนาดเล็กลวดลายบนตัวจะยังไม่เป็นสีแดงสด โดยจะเริ่มจากสีครีมหรือเหลืองก่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่นเดียวกับสีพื้นของลำตัวของปลาที่จะเปลี่ยนจากสีเขียวมะกอกเป็นสีเทาดำ หรือดำสนิทเมื่ออายุได้ 8-9
เดือน
การเลี้ยงดู
          เนื่องจากเมื่อโตเต็มที่ปลาชนิดนี้อาจยาวได้ถึง 1 ฟุต แต่ขนาดโดยทั่วไปมักจะยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ดังนั้นตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาออสการ์ควรมีขนาดใหญ่พอสมควร โดยเริ่มตั้งแต่ 30 นิ้วขึ้นไปจนถึง 60 นิ้ว ซึ่งก็แล้วแต่จำนวนปลาที่เลี้ยง ส่วนจำนวนปลาที่เลี้ยงนั้น ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นฝูงควรมีจำนวนมากกว่า 4-5 ตัวขึ้นไป ไม่เช่นนั้นปลาจะกัดกันบ่อยมากเนื่องจากนิสัยเฉพาะตัวที่ต้องการความเป็นใหญ่ในฝูง ซึ่งหากตู้ที่ใช้เลี้ยงมีขนาดไม่ใหญ่มากก็ควรจะเลี้ยงเดี่ยวดีกว่า
     
         การตกแต่งตู้สามารถทำได้ตามใจของผู้เลี้ยง จะมีขอนไม้ หรือโขดหิน ประดับก็ได้ แต่ถ้าต้องการประดับไม้น้ำในตู้ควรใช้ไม้น้ำพลาสติกจะดีกว่า เพราะปลาออสการ์บางตัวมีนิสัยชอบกัดทำลายไม้น้ำ โดยเฉพาะในกรณีที่เลี้ยงปลาค่อนข้างแน่นหนาแล้วปลาเกิดความเครียด
นอกจากนี้ปลาบางตัวยังมีนิสัยชอบขุดหิน หรือกรวดปูพื้นจนเป็นแอ่ง โดยเฉพาะช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งผู้เลี้ยงก็ควรจะทำใจเผื่อไว้บ้างในกรณีที่จัดตู้ไว้อย่างสวยงามแล้วโดนปลารื้อทำลาย

          ระบบกรองสำหรับปลาชนิดนี้สามารถได้ทุกระบบ แต่เนื่องจากปลาออสการ์เป็นปลากินเนื้อ ดังนั้นปริมาณแอมโมเนียจากของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาก็จะมากกว่าปลากินพืชโดยทั่วไป ผู้เลี้ยงจึงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำอย่างน้อย 10-20 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 1 สัปดาห์ และควรเปลี่ยนน้ำขนานใหญ่เพื่อล้างกรวดก้นตู้บ้างภายในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี
          สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็เช่นเดียวกับปลาสวยงามชนิดอื่นๆ คือ ควรปราศจากคลอรีน ยกเว้นกรณีที่เปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณไม่มากนักซึ่งมีน้ำเดิมเหลืออยู่มากเกินครึ่งตู้
          ปลาที่เลี้ยงรวมกับปลาออสการ์ควรเป็นปลาในกลุ่มปลาหมอ Cichlidae ด้วยกัน แต่ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน หรือว่องไวพอสมควร ไม่เช่นนั้นอาจโดนปลาออสการ์ทำร้ายเอาได้ ขณะเดียวกันถ้าปลาที่เลี้ยงอยู่มีขนาดใหญ่มากเกินไปก็ควรจะแยกออกไป ไม่เช่นนั้นวันดีคืนดีอาจเล่นงานออสการ์ตัวเก่งเอาได้ ส่วนปลากลุ่มอื่นที่เลี้ยงด้วยกันได้นั้น ส่วนมากมักจะเป็นปลาที่ไม่ค่อยว่ายน้ำหรือสามารถป้องกันตัวเองได้ เช่น ปลากราย ปลาตองลาย ปลาชะโด หรือปลาเสือตอ เป็นต้น ปลาอีกกลุ่มที่เลี้ยงร่วมกันได้เป็นอย่างดีได้แก่ปลาที่อาศัยอยู่หน้าดินเป็นหลัก เช่น ปลากระทิงไฟ ปลากดดำ ปลากดแก้ว หรือปลาเรดเทล แคทฟิช เป็นต้น
การเพาะพันธุ์
                การแยกเพศของปลาออสการ์คล้ายกับตระกูลปลาหมอทั่วไป คือ จะแยกค่อนข้างยากโดยที่เพศผู้นั้นตามปกติจะมีสีสันมากกว่าเพศเมีย มีตัวใหญ่มากกว่า ช่องเปิดของอวัยวะเพศจะยื่นออกมาส่วนเพศเมียจะกลม เพศผู้จะมีครีบหลังใหญ่กว่าเพศเมียในขณะที่เพศเมียครีบหลังค่อนข้างกลม เนื่องจากเพศที่แยกยากนี้ทำให้การเลี้ยงปลาออสการ์ส่วนใหญ่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์มักจะปล่อยรวมกันหลาย ๆ ตัวบางครั้งอาจจะมากกว่า 6 ตัว ในบ่อที่มีขนาดใหญ่ มีการกั้นหินเป็นห้อง ๆ เพื่อที่จะให้พ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นจับคู่กันเอง และเป็นการหลบภัยจากปลาตัวอื่นอีกด้วย ปลาออสการ์จะวางไข่ติดกับวัสดุผิวเรียบๆ เช่น กระดานชนวน หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ โดยก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะใช้ปากช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่จะวางไข่ก่อน และเมื่อวางไข่แล้วก็จะเฝ้าดูแลไข่จนลูกปลาฟักออกเป็นตัวและเลี้ยงลูกต่อไปจนกว่าลูกๆ จะแข็งแรง สำหรับอาหารของลูกปลาในระยะนี้เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยทั่วไปจะใช้ไรแดงเป็นหลัก เมื่อปลาพร้อมวางไข่ก็จะมีการสร้างรังปลาตัวอื่นที่ไม่ใช่คู่ของมันจะถูกไล่ออกไป คุณสมบัติน้ำที่เหมาะสมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ สำหรับปลาตระกูล Cichlid ได้แก่ ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์ น้ำควรมีความเป็นกรด น้ำอ่อน ดังนั้นในช่วงนี้เมื่อรู้ว่าปลาพร้อมที่จะมีการปรับน้ำให้เหมาะสม โดยการเปลี่ยนคุณสมบัติของน้ำทีละเล็กทีละน้อย ความเป็นกรดและด่าง ควรให้ลดมาอยู่ที่ 6 - 7 ความกระด้างของน้ำควรให้ต่ำกว่า 160 พีพีเอ็ม อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส

             ในกรณีที่พบว่า พ่อแม่ปลากินลูกของตัวเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากปลาถูกรบกวนมากเกินไป หรือเพิ่งเคยเลี้ยงลูก ให้รีบแยกพ่อแม่ปลาออกไปทันที และในเวลาไม่นานปลาอาจจะตั้งท้องได้อีกหากได้รับการบำรุงร่างกายเป็นอย่างดี
ที่มา http://www.thaigoodview.com/

การเลี้ยงปลาการ์ตูน

                                        ปลาการ์ตูน


                                              

ถิ่นกำเนิด
               ปลาการ์ตูนพบได้เฉพาะในเขตมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกบางส่วน ในธรรมชาติปลาการ์ตูนจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล ดังนั้นเราจะพบปลาการ์ตูนได้ก็ต่อเมื่อได้พบดอกไม้ทะเลเท่านั้น แม้ว่าดอกไม้ทะเลจะมีเข็มพิษแต่กลับไม่ทำอันตรายต่อปลาการ์ตูน ทำให้ปลาการ์ตูนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในดอกไม้ทะเล จากการสำรวจพบว่า ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะจำเพาะเจาะจงต่อชนิดของดอกไม้ทะเลที่จะอาศัยอยู่ด้วย แต่ก็มีปลาการ์ตูนอีกหลายชนิดที่สามารถอาศัยอยู่กับดอกได้ทะเลได้หลายชนิด
 สายพันธุ์ 

   ปลาการ์ตูนส้มขาว Clown Anemonefish  Amphiprion ocellaris (Cuvier, 1830)

                                                   
   

       
ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
 
ปลาการ์ตูนแดง Spine - cheek anemonefish, Premnas biaculeatus (Bloch, 1790)

                                                        

             ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor 
  ปลาการ์ตูนอินเดียน   Yellow Skunk Anemonefish  Amphiprion akallopisos (Bleeker, 1853)

                                                
    

   ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบอาศัยอยู่ทางฝั่งอันดามัน

      
                          
ปลาการ์ตูนดำแดง Red saddleback anemonefish
                                                  

          ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน
เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเล ฉะนั้นเราต้องมีการเตรียมการ 



การเลี้ยงดู



1. น้ำ หาได้จาก 2 แหล่งคือ น้ำทะเลธรรมชาติ กับ น้ำทะเลสังเคราะห์

    1.1 น้ำเค็มธรรมชาติ ต้องมีความเค็มประมาณ 28-33 ppt ข้อควรระวังในการเก็บน้ำทะเล ต้องไม่ใช้น้ำชายหาด ต้องออกไปเก็บห่างจากชายฝั่งประมาณ 9-10 กิโลเมตร เพื่อป้องกันน้ำที่ไม่สะอาดจากสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง (มลพิษจากเรือและโรคต่างๆ) และน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานั้นควรเป็นน้ำที่ตักมาใหม่ๆ
    1.2 น้ำทะเลสังเคราะห์ เป็นเกลือที่ผสมเสร็จแล้วตามหลักเคมี สามารถใช้ผสมกับน้ำจืดตามอัตราส่วนที่แนะนำไว้ ซึ่งในน้ำทะเลสังเคราะห์มีส่วนผสมดังนี้
    * น้ำ 96.4 %
    * เกลือธรรมดา(NaCl) 2.8 %
    * แมกนีเซียมคลอไรด์(MgCl) 0.4 %
    * แมกนีเซียมซัลเฟต(MgSO4) 0.2 %
    * แคลเซียมซัลเฟต(CaSO4) 0.1 %
    * โพแตสเซียมคลอไรด์(KCL) 0.1 %
    การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะถ่าย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (ไม่ต้องนำปลาออกจากตู้) ครั้งละ70-80% โดยใช้วิธีกาลักน้ำ พร้อมกับทำความสะอาดบริเวณด้านข้างตู้ ล้างทรายในตู้เดือนละ 1 ครั้ง โดยการนำปลาออกจากตู้ก่อนทำการล้าง

2. ตู้ ควรใช้ตู้ขนาด 24 นิ้วเป็นอย่างต่ำจัดทรายและหินลงไปตามสมควร ในตู้ควรมีระบบกรองน้ำ เช่น กรองข้างหรือกรองล่าง เป็นต้น
การเพาะพันธุ์

 
การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์
รวมรวมพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติ โดยให้ได้พ่อแม่พันธุ์ที่จับคู่กันอยู่จะช่วยให้พ่อแม่พันธุ์วางไข่ได้เร็วขึ้น ถ้าไม่สามารถหาพันธุ์เป็นคู่จากธรรมชาติได้ ก็สามารถจับคู่ให้ปลาการ์ตูนได้ ปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และอาจมีท้องอูมเป่ง ส่วนตัวผู้เลือกขนาดเล็กและท้องเรียบ หลังการจับคู่ให้ปลาแล้วต้องคอยสังเกตว่าปลาจะยอมรับกันหรือไม่ ถ้าปลาตัวเมียไล่กัดตัวผู้แสดงว่าปลาไม่ยอมรับกันให้รีบเปลี่ยนคู่
การวางไข่และพัฒนาการของไข่
ก่อนที่ปลาจะวางไข่ 2-5 วัน ปลาตัวผู้จะเลือกวัสดุและทำความสะอาด โดยใช้ปากตอด ใช้ครีบอกและครีบหากโบกพัดสิ่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ผิดหน้าของวัสดุให้หลุดไป เมื่อใกล้วางไข่ ปลาตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งใหญ่กว่าปกติ และมีท่อนำไข่โผล่ยาวออกมาประมาณ 4-5 มิลลิเมตร หลังจากนั้น ปลาจะเริ่มวางไข่ภายใน 1 ชั่วโมง แม่ปลาจะวางไข่ติดกับวัสดุที่เลือกไว้แล้ว โดยวางเป็นชุด พ่อปลาก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม เมื่อวางไข่เสร็จพ่อปลาจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยการโบกพัดด้วยครีบ ใช้ปากตอด และเก็บไข่เสียออก แม่ปลาจะเข้าช่วยโบกพัดเป็นครั้งคราว ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน ไข่ก็พร้อมที่จะฟักออกเป็นตัว
ปลาการ์ตูนสามารถที่จะวางไข่ได้ประมาณ เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500-1,000 ฟอง ขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์ ในการวางไข่ชุดแรก พบว่าปลามักจะกินไข่ของตัวเองหมดเนื่องจากเกิดอาการตกใจ แต่เมื่อวางไข่ชุดหลังปลาจะเริ่มเคยชินกับการถูกรบกวนและจะไม่กินไข่ของตัวเองอีก
การฟักไข่
หลังจากการวางไข่ 7-8 วันแล้ว ไข่พร้อมที่จะฟักเป็นตัว สังเกตได้จากตาของตัวอ่อนในไข่มีสีเงินวาว ในตอนเย็นนำใข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวซึ่งติดอยู่กับก้อนหินหรือเปลือกหอยไปฟักในถังขนาด 500 ลิตร เติมน้ำทะเลสะอาด 300 ลิตร โดยอาศัยแรงลมดันน้ำไหลผ่านไข่ปลาเบา ๆ ลูกปลาจะฟักออกจากไข่ในเวลากลางคืน จากนั้นจึงนำวัสดุและอุปกรณ์การฟักออก
ที่มา  http://www.thaigoodview.com