ปลาการ์ตูนพบได้เฉพาะในเขตมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกบางส่วน ในธรรมชาติปลาการ์ตูนจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล ดังนั้นเราจะพบปลาการ์ตูนได้ก็ต่อเมื่อได้พบดอกไม้ทะเลเท่านั้น แม้ว่าดอกไม้ทะเลจะมีเข็มพิษแต่กลับไม่ทำอันตรายต่อปลาการ์ตูน ทำให้ปลาการ์ตูนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในดอกไม้ทะเล จากการสำรวจพบว่า ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะจำเพาะเจาะจงต่อชนิดของดอกไม้ทะเลที่จะอาศัยอยู่ด้วย แต่ก็มีปลาการ์ตูนอีกหลายชนิดที่สามารถอาศัยอยู่กับดอกได้ทะเลได้หลายชนิด
ปลาการ์ตูนส้มขาว Clown Anemonefish Amphiprion ocellaris (Cuvier, 1830)
ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่
ปลาการ์ตูนแดง Spine - cheek anemonefish, Premnas biaculeatus (Bloch, 1790)
ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor
ปลาการ์ตูนอินเดียน Yellow Skunk Anemonefish Amphiprion akallopisos (Bleeker, 1853)
ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทองอมชมพู มีแถบขาวเล็ก ๆ พาดผ่านบริเวณหลังตั้งแต่ปลายจมูกจนจรดครีบหาง อาศัยในที่ลึกตั้งแต่ 3-25 เมตรขนาดโตที่สุดประมาณ 10-11 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่คล้ายปลาการ์ตูนส้มขาว พบอาศัยอยู่ทางฝั่งอันดามัน
ปลาการ์ตูนดำแดง Red saddleback anemonefish
ปลาเต็มวัยลำตัวมีสีส้มแดงและมีปื้นสีดำขนาดใหญ่บริเวณหลัง ส่วนปลาวัยรุ่นจะยังไม่มีปื้นสีดำ และจะมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัวบริเวณหลังตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12 เซนติเมตร อาศัยตามแนวปะการังชายฝั่งที่เป็นพื้นทราย หรือตามส่วนลาดชันของแนวปะการัง มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor หรือ Heteractis crispa พบทางฝั่งทะเลอันดามัน เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาทะเล ฉะนั้นเราต้องมีการเตรียมการ
1. น้ำ หาได้จาก 2 แหล่งคือ
น้ำทะเลธรรมชาติ กับ น้ำทะเลสังเคราะห์
1.1 น้ำเค็มธรรมชาติ ต้องมีความเค็มประมาณ
28-33 ppt ข้อควรระวังในการเก็บน้ำทะเล ต้องไม่ใช้น้ำชายหาด
ต้องออกไปเก็บห่างจากชายฝั่งประมาณ 9-10 กิโลเมตร
เพื่อป้องกันน้ำที่ไม่สะอาดจากสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง (มลพิษจากเรือและโรคต่างๆ)
และน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานั้นควรเป็นน้ำที่ตักมาใหม่ๆ
1.2 น้ำทะเลสังเคราะห์
เป็นเกลือที่ผสมเสร็จแล้วตามหลักเคมี สามารถใช้ผสมกับน้ำจืดตามอัตราส่วนที่แนะนำไว้
ซึ่งในน้ำทะเลสังเคราะห์มีส่วนผสมดังนี้
* น้ำ 96.4 %
* เกลือธรรมดา(NaCl) 2.8 %
* แมกนีเซียมคลอไรด์(MgCl) 0.4 %
* แมกนีเซียมซัลเฟต(MgSO4) 0.2 %
* แคลเซียมซัลเฟต(CaSO4) 0.1 %
* โพแตสเซียมคลอไรด์(KCL) 0.1 %
* น้ำ 96.4 %
* เกลือธรรมดา(NaCl) 2.8 %
* แมกนีเซียมคลอไรด์(MgCl) 0.4 %
* แมกนีเซียมซัลเฟต(MgSO4) 0.2 %
* แคลเซียมซัลเฟต(CaSO4) 0.1 %
* โพแตสเซียมคลอไรด์(KCL) 0.1 %
การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะถ่าย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์
(ไม่ต้องนำปลาออกจากตู้) ครั้งละ70-80% โดยใช้วิธีกาลักน้ำ
พร้อมกับทำความสะอาดบริเวณด้านข้างตู้ ล้างทรายในตู้เดือนละ 1 ครั้ง
โดยการนำปลาออกจากตู้ก่อนทำการล้าง
2. ตู้ ควรใช้ตู้ขนาด 24
นิ้วเป็นอย่างต่ำจัดทรายและหินลงไปตามสมควร ในตู้ควรมีระบบกรองน้ำ เช่น
กรองข้างหรือกรองล่าง เป็นต้น

การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์
การรวบรวมพ่อแม่พันธุ์
รวมรวมพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติ
โดยให้ได้พ่อแม่พันธุ์ที่จับคู่กันอยู่จะช่วยให้พ่อแม่พันธุ์วางไข่ได้เร็วขึ้น
ถ้าไม่สามารถหาพันธุ์เป็นคู่จากธรรมชาติได้ ก็สามารถจับคู่ให้ปลาการ์ตูนได้
ปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และอาจมีท้องอูมเป่ง ส่วนตัวผู้เลือกขนาดเล็กและท้องเรียบ
หลังการจับคู่ให้ปลาแล้วต้องคอยสังเกตว่าปลาจะยอมรับกันหรือไม่
ถ้าปลาตัวเมียไล่กัดตัวผู้แสดงว่าปลาไม่ยอมรับกันให้รีบเปลี่ยนคู่
การวางไข่และพัฒนาการของไข่
ก่อนที่ปลาจะวางไข่ 2-5 วัน
ปลาตัวผู้จะเลือกวัสดุและทำความสะอาด โดยใช้ปากตอด
ใช้ครีบอกและครีบหากโบกพัดสิ่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ผิดหน้าของวัสดุให้หลุดไป
เมื่อใกล้วางไข่ ปลาตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งใหญ่กว่าปกติ
และมีท่อนำไข่โผล่ยาวออกมาประมาณ 4-5 มิลลิเมตร หลังจากนั้น ปลาจะเริ่มวางไข่ภายใน
1 ชั่วโมง แม่ปลาจะวางไข่ติดกับวัสดุที่เลือกไว้แล้ว โดยวางเป็นชุด
พ่อปลาก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสม
เมื่อวางไข่เสร็จพ่อปลาจะเฝ้าดูแลไข่ด้วยการโบกพัดด้วยครีบ ใช้ปากตอด
และเก็บไข่เสียออก แม่ปลาจะเข้าช่วยโบกพัดเป็นครั้งคราว ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน
ไข่ก็พร้อมที่จะฟักออกเป็นตัว
ปลาการ์ตูนสามารถที่จะวางไข่ได้ประมาณ
เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500-1,000 ฟอง ขึ้นกับขนาดและความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์
ในการวางไข่ชุดแรก พบว่าปลามักจะกินไข่ของตัวเองหมดเนื่องจากเกิดอาการตกใจ
แต่เมื่อวางไข่ชุดหลังปลาจะเริ่มเคยชินกับการถูกรบกวนและจะไม่กินไข่ของตัวเองอีก
การฟักไข่
หลังจากการวางไข่ 7-8 วันแล้ว
ไข่พร้อมที่จะฟักเป็นตัว สังเกตได้จากตาของตัวอ่อนในไข่มีสีเงินวาว
ในตอนเย็นนำใข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวซึ่งติดอยู่กับก้อนหินหรือเปลือกหอยไปฟักในถังขนาด
500 ลิตร เติมน้ำทะเลสะอาด 300 ลิตร โดยอาศัยแรงลมดันน้ำไหลผ่านไข่ปลาเบา ๆ
ลูกปลาจะฟักออกจากไข่ในเวลากลางคืน
จากนั้นจึงนำวัสดุและอุปกรณ์การฟักออก
ที่มา http://www.thaigoodview.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น