วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาออสการ์

                                    ปลาออสการ์


                                            


ถิ่นกำเนิด
           ต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยค้นพบในแม่น้ำอะเมซอน และลำน้ำสาขา เป็นปลาที่หวงถิ่น เดิมทีเป็นปลาที่ชาวบ้านแถบนั้นใช้เป็นอาหาร จนกระทั่งนักเลี้ยงปลาชาวยุโรปมาพบเข้าและติดใจในความสวยงามจึงนำกลับไปเลี้ยง จนกระทั่งแพร่หลายไปทั่วโลกในที่สุดแต่เดิมปลาออสการ์ไม่ได้มีสีสันสวยงามอย่างที่เราเห็น ปลาสายพันธุ์ดั้งเดิมที่จับจากแม่น้ำหรือปลาป่า จะมีเกล็ดสีแดงขึ้นแซมประปรายเพียงไม่กี่เกล็ดเท่านั้น ส่วนสีพื้นของลำตัวจะเป็นสีเทาดำ หรือเขียวมะกอก ต่อมาเมื่อมีการนำเข้าปลาชนิดนี้มาในเมืองไทย นักเพาะพันธุ์ชาวไทยได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายและสวยงามกว่าปลาป่ามาก โดยปลาที่เพาะได้ในตอนนั้นมีสีแดงเพิ่มขึ้นเป็นลวดลายเด่นชัดขึ้น และได้รับการขนานนามว่า "ปลาออสการ์ลายเสือ" (Tiger Oscar) ซึ่งสามารถ เลี้ยงรวม กับ ปลาขนาดยักษ์ Jumbo Fishes ที่มาจากลุ่มแม่น้ำ เดียวกันได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น ไทเกอร์โชว์เวสโนส, เรดเทลแคทฟิช, อะโรวาน่าเงิน เป็นต้น
สายพันธุ์
         นักเพาะพันธุ์ชาวไทยได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายและสวยงามกว่าปลาป่ามาก โดยปลาที่เพาะได้ในตอนนั้นมีสีแดงเพิ่มขึ้นเป็นลวดลายเด่นชัดขึ้น และได้รับการขนานนามว่า "ปลาออสการ์ลายเสือ" (
Tiger Oscar)
        
ลักษณะเด่นของปลาออสการ์ลายเสือ คือ มีแถบสีแดงพาดผ่านตั้งแต่บริเวณคอ ลำตัว และหางหลายส่วน และบริเวณโคนหางมีวงสีแดง นอกจากออสการ์ลายเสือแล้ว ในเวลาไม่นานนักเพาะพันธุ์ชาวไทยก็สร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อสามารถทำให้ปลาออสการ์มีสีแดงทั้งตัวได้ โดยได้รับการตั้งชื่อว่า "ออสการ์สีทอง" หรือ "ออสการ์แสงอาทิตย์" (Red Oscar)
ซึ่งทำให้ขณะนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาออสการ์ชาวไทยมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการส่งออกปลาตัวนี้ไปทั่วโลก หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการคิดค้นสายพันธุ์ปลาชนิดนี้ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ออสการ์เผือก หรือออสการ์หางยาว เป็นต้น
        
ปลาออสการ์ขนาดเล็กลวดลายบนตัวจะยังไม่เป็นสีแดงสด โดยจะเริ่มจากสีครีมหรือเหลืองก่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่นเดียวกับสีพื้นของลำตัวของปลาที่จะเปลี่ยนจากสีเขียวมะกอกเป็นสีเทาดำ หรือดำสนิทเมื่ออายุได้ 8-9
เดือน
การเลี้ยงดู
          เนื่องจากเมื่อโตเต็มที่ปลาชนิดนี้อาจยาวได้ถึง 1 ฟุต แต่ขนาดโดยทั่วไปมักจะยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ดังนั้นตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาออสการ์ควรมีขนาดใหญ่พอสมควร โดยเริ่มตั้งแต่ 30 นิ้วขึ้นไปจนถึง 60 นิ้ว ซึ่งก็แล้วแต่จำนวนปลาที่เลี้ยง ส่วนจำนวนปลาที่เลี้ยงนั้น ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นฝูงควรมีจำนวนมากกว่า 4-5 ตัวขึ้นไป ไม่เช่นนั้นปลาจะกัดกันบ่อยมากเนื่องจากนิสัยเฉพาะตัวที่ต้องการความเป็นใหญ่ในฝูง ซึ่งหากตู้ที่ใช้เลี้ยงมีขนาดไม่ใหญ่มากก็ควรจะเลี้ยงเดี่ยวดีกว่า
     
         การตกแต่งตู้สามารถทำได้ตามใจของผู้เลี้ยง จะมีขอนไม้ หรือโขดหิน ประดับก็ได้ แต่ถ้าต้องการประดับไม้น้ำในตู้ควรใช้ไม้น้ำพลาสติกจะดีกว่า เพราะปลาออสการ์บางตัวมีนิสัยชอบกัดทำลายไม้น้ำ โดยเฉพาะในกรณีที่เลี้ยงปลาค่อนข้างแน่นหนาแล้วปลาเกิดความเครียด
นอกจากนี้ปลาบางตัวยังมีนิสัยชอบขุดหิน หรือกรวดปูพื้นจนเป็นแอ่ง โดยเฉพาะช่วงจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งผู้เลี้ยงก็ควรจะทำใจเผื่อไว้บ้างในกรณีที่จัดตู้ไว้อย่างสวยงามแล้วโดนปลารื้อทำลาย

          ระบบกรองสำหรับปลาชนิดนี้สามารถได้ทุกระบบ แต่เนื่องจากปลาออสการ์เป็นปลากินเนื้อ ดังนั้นปริมาณแอมโมเนียจากของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาก็จะมากกว่าปลากินพืชโดยทั่วไป ผู้เลี้ยงจึงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำอย่างน้อย 10-20 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 1 สัปดาห์ และควรเปลี่ยนน้ำขนานใหญ่เพื่อล้างกรวดก้นตู้บ้างภายในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี
          สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็เช่นเดียวกับปลาสวยงามชนิดอื่นๆ คือ ควรปราศจากคลอรีน ยกเว้นกรณีที่เปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณไม่มากนักซึ่งมีน้ำเดิมเหลืออยู่มากเกินครึ่งตู้
          ปลาที่เลี้ยงรวมกับปลาออสการ์ควรเป็นปลาในกลุ่มปลาหมอ Cichlidae ด้วยกัน แต่ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน หรือว่องไวพอสมควร ไม่เช่นนั้นอาจโดนปลาออสการ์ทำร้ายเอาได้ ขณะเดียวกันถ้าปลาที่เลี้ยงอยู่มีขนาดใหญ่มากเกินไปก็ควรจะแยกออกไป ไม่เช่นนั้นวันดีคืนดีอาจเล่นงานออสการ์ตัวเก่งเอาได้ ส่วนปลากลุ่มอื่นที่เลี้ยงด้วยกันได้นั้น ส่วนมากมักจะเป็นปลาที่ไม่ค่อยว่ายน้ำหรือสามารถป้องกันตัวเองได้ เช่น ปลากราย ปลาตองลาย ปลาชะโด หรือปลาเสือตอ เป็นต้น ปลาอีกกลุ่มที่เลี้ยงร่วมกันได้เป็นอย่างดีได้แก่ปลาที่อาศัยอยู่หน้าดินเป็นหลัก เช่น ปลากระทิงไฟ ปลากดดำ ปลากดแก้ว หรือปลาเรดเทล แคทฟิช เป็นต้น
การเพาะพันธุ์
                การแยกเพศของปลาออสการ์คล้ายกับตระกูลปลาหมอทั่วไป คือ จะแยกค่อนข้างยากโดยที่เพศผู้นั้นตามปกติจะมีสีสันมากกว่าเพศเมีย มีตัวใหญ่มากกว่า ช่องเปิดของอวัยวะเพศจะยื่นออกมาส่วนเพศเมียจะกลม เพศผู้จะมีครีบหลังใหญ่กว่าเพศเมียในขณะที่เพศเมียครีบหลังค่อนข้างกลม เนื่องจากเพศที่แยกยากนี้ทำให้การเลี้ยงปลาออสการ์ส่วนใหญ่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์มักจะปล่อยรวมกันหลาย ๆ ตัวบางครั้งอาจจะมากกว่า 6 ตัว ในบ่อที่มีขนาดใหญ่ มีการกั้นหินเป็นห้อง ๆ เพื่อที่จะให้พ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นจับคู่กันเอง และเป็นการหลบภัยจากปลาตัวอื่นอีกด้วย ปลาออสการ์จะวางไข่ติดกับวัสดุผิวเรียบๆ เช่น กระดานชนวน หรือกระเบื้องแผ่นเรียบ โดยก่อนวางไข่พ่อแม่ปลาจะใช้ปากช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่จะวางไข่ก่อน และเมื่อวางไข่แล้วก็จะเฝ้าดูแลไข่จนลูกปลาฟักออกเป็นตัวและเลี้ยงลูกต่อไปจนกว่าลูกๆ จะแข็งแรง สำหรับอาหารของลูกปลาในระยะนี้เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยทั่วไปจะใช้ไรแดงเป็นหลัก เมื่อปลาพร้อมวางไข่ก็จะมีการสร้างรังปลาตัวอื่นที่ไม่ใช่คู่ของมันจะถูกไล่ออกไป คุณสมบัติน้ำที่เหมาะสมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ สำหรับปลาตระกูล Cichlid ได้แก่ ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์ น้ำควรมีความเป็นกรด น้ำอ่อน ดังนั้นในช่วงนี้เมื่อรู้ว่าปลาพร้อมที่จะมีการปรับน้ำให้เหมาะสม โดยการเปลี่ยนคุณสมบัติของน้ำทีละเล็กทีละน้อย ความเป็นกรดและด่าง ควรให้ลดมาอยู่ที่ 6 - 7 ความกระด้างของน้ำควรให้ต่ำกว่า 160 พีพีเอ็ม อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส

             ในกรณีที่พบว่า พ่อแม่ปลากินลูกของตัวเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากปลาถูกรบกวนมากเกินไป หรือเพิ่งเคยเลี้ยงลูก ให้รีบแยกพ่อแม่ปลาออกไปทันที และในเวลาไม่นานปลาอาจจะตั้งท้องได้อีกหากได้รับการบำรุงร่างกายเป็นอย่างดี
ที่มา http://www.thaigoodview.com/

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2565 เวลา 02:16

    1xBet Korean Sportsbook Review | Betsafe
    1xBet offers a range of sports markets in kadangpintar Asian 샌즈카지노 Handicap; Football, Tennis, Hockey, Basketball, Horse Racing, 1xbet Tennis, Golf, Handicap, In-Play

    ตอบลบ
  2. เล่นสล็อต Songkran Splash PG Slot โดดเด่นที่สุดคือการใช้กราฟิกและเอฟเฟกต์ที่สวยงาม เกมใหม่ พีจี สล็อต ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงในเกม หรือการเล่นหมุนล้อที่มีการส่งน้ำและพ่นน้ำเล็กๆ รางวัล ทำให้เกมสล็อต นักเดิมพันที่ชื่นชอบการเล่นเกมสล็อตออนไลน์

    ตอบลบ