วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาหมอสี


   ปลาหมอสี




        ถิ่นกำเนิด
ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่มาจากทะเลสาบ ทังกันยิกา ทะเลสาบมาลาวีและทะเลสาบวิกตอเรีย รูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอไทย แต่มีสีสันหลากหลายสวยงามยิ่งนัก ตามตำราระบุว่าปลาหมอชนิดนี้เป็นลัตว์น้ำเค็ม แต่เมื่อประมาณ 11-30 ล้านปีได้เกิดการแตกแยกของผิวโลก กลายเป็นทะเลสาบ ปลาทะเลนานาชนิดไถเข้าไปอยู่อาศัย โดยเฉพาะปลาหมอสีได้วิวัฒนาการมาตลอดจนมีจำนวนสกุลและชนิดมาก ดังนั้นรูปร่างและพฤติกรรมก็แตกต่างกันหลายรูปแบบด้วย
 ปัจจุบันนี้ปลาหมอสีได้ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และพัฒนาพันธุ์มากมายหลายชนิด ซึ่งประเทศไทยก็มิน้อยหน้าประเทศใด ๆ เลย เพราะว่ามีผู้เลี้ยงปลาสวยงามจำนวนมากนิยมนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงพร้อมกับพัฒนาพันธุ์ ผลิตลูกพันธุ์ขายให้กับผู้สนใจทั้งในและนอกประเทศ ทำเงินเข้าประเทศปีละนับสิบ ๆ ล้านบาท เช่นปลาในสกุล (Genus Nimbochromis), Genus Protomelas, Genus Aulonocara, Genus Aristochromis, Genus Copadichromis, Genus Geophagus และ Labeotropheus
สายพันธุ์
 
                 
                                  ปลาหมอสีสกุล 
Aristochromis
                                                              
                                        

          ลักษณะของจะงอยปากที่เป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายดั้งจมูกของชาวกรีก ซึ่งมีเพียง 1 ชนิดคือ ปลาหมอคริสตี้ ลักษณะลำตัวยาวแบนข้างหัวโต หน้ายาว หน้านัยน์ตาหักเป็นมุม แล้วลาดโค้งเข้าหาแนวสันของกะโหลก ตามีขนาดปานกลางคอดหางสั้น ครีบกระโดงที่ส่วนปลายเป็นก้านครีบอ่อนจะยกสูงขึ้นจากแนวของส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยว ปลายกระโดงมนและยาวจรดโคนหาง ครีบอกและตะเกียบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายครีบเกือบตัดตรง กินปลาที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จุดเด่นของปลาหมอคริสตี้ ในระยะโตเต็มวัยมีหัวสีฟ้าคราม ลำตัวสีน้ำเงินแถบสีดำ ขอบเกล็ดสีดำ ครีบกระโดงส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยวสีฟ้า ครีบก้นสีเหลือง มีจุดไข่สีฟ้า ตะเกียบสีเหลืองขอบฟ้าครีบอกเหลืองใส ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ความยาวสุด 30 เซนติเมตร การผสมพันธุ์ ตัวเมียอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ในระยะนี้แม่ปลายังคงดูแลลูกต่อไปอีกเป็นเวลา 1 เดือน การวางไข่แต่ละครั้ง ปลาจะให้ลูกประมาณ 30 ตัว
                                 ปลาหมอสีสกุCopadichromis
             
                                             


          สมาชิกของปลาสกุลนี้รูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิด ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ อาหารหลัก คือ แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ดังนั้นปากของมันจึงพัฒนาให้เหมาะสมต่อการจับอาหารที่มีขาดเล็ก โดยริมฝีปากบนและล่างเชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งสามารถยืดและหดได้ ชนิดปลาในสกุลนี้ อาทิ หมอบอร์เลยี คาดันโก จุดเด่นของปลาหมอบอร์เลยี อยู่ที่ครีบตะเกียบที่มีปลายยาวเรียวเป็นสายรยางค์ ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายเว้าไม่ลึก ครีบหูบางและโปร่งใสจนเห็นก้านครีบชัดเจน ลักษณะของสีแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่อยู่อาศัย ขนาดตัวผู้มีความยาวสุด 15 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า การผสมพันธุ์ ตัวผู้มีนิสัยก้าวร้าวและหวงถิ่น ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก อาหารกินแพลงก์ตอนทั้งพืชและสัตว์ในธรรมชาติ
            

  จัดเป็นปลาที่มีขนาดปานกลาง แพทเทิร์นของเมลานินที่พบมี 2 ลักษณะคือ 1 เป็นแถบสีดำ 2 แถบอยู่กลางลำตัว 1 แถบและอีกหนึ่งแถบอยู่ที่แนวสันหลัง 2 มีลักษณะจุดสีดำ 3 จุด อยู่บริเวณลำตัว 2 จุด และที่โดนหาง 1 จุด แพทเทิร์นของสีส่วนใหญ่จะจางหายไปเมื่อปลาโตเต็มวัยหรือในระยะเวลาผสมวางไข่

                                    ปลาหมอสีสกุ
Labeotropheus 

                     
                                             
             สกุลนี้มีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่ปลายจะงอยปากที่ยืนล้ำเลยออกไปจากริมฝีปากบนลักษณะคล้ายปลายจมูกที่โด่งปลาสกุลนี้มีเพียง 2 ชนิด หมอปากโลมาตัวอ้วนห้าสี ลำตัวสีเหลืองส้มและมีจุดดำกระจายทั่วไป นัยน์ตาไม่มีสีแดงและมีจุดไข่ที่ครีบก้น หมอปากโลมาตัวผอม มีลำตัวสั้นและผอมกว่าหมอปากโลมาตัวอ้วน แต่จะงอยปากลาดเรียวแหลมกว่า มีสีเหลืองสนิมอยู่ในแนวสันหลัง ส่วนบนของข้างลำตัว ตัวผู้ความยาวสุดประมาณ 12-13 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า ปลาที่เลี้ยงให้อาหารสำเร็จรูป
            สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงปลาต้องรู้จักคุณลักษณะ ชนิดและขนาด เช่น ปลาแคระสามารถเลี้ยงเป็นฝูงได้ ปลาหมอสีส่วนใหญ่จะดุมักเลี้ยงเดี่ยว ส่วนขนาดตู้ปลาขึ้นอยู่กับสถานที่และชนิดปลา ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 30 เปอร์เซ็นต์ ตู้ขนาดดังกล่าวใส่เกลือเม็ด 1 กำมือ


การเลี้ยงดู1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ


การ
เพาะพันธุ์
            การเพาะพันธุ์เราควรจะคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เสียก่อน ปลาหมอสีตัวผู้กับตัวเมียหากจะดูตามลักษณะของอวัยวะเพศนั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะสังเกตเห็นว่าปลาหมอสีบางพันธุ์ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และบางพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสด ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่า พ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องเป็นปลาที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ปราดเปรียว ที่สำคัญต้องเป็นปลาที่ไม่ผ่านการเร่งหรือย้อมสี มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

          สถานที่ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาหมอสีควรใช้ตู้กระจกขนาด 36 นิ้ว เพราะสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของแม่ปลาได้ง่าย ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันปลาตื่นตกใจ เมื่อเตรียมพ่อแม่พันธุ์และสถานที่เรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตราส่วน พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 5 ตัว ซึ่งตู้ขนาด 36 นิ้ว สามารถปล่อยพ่อพันธุ์ได้ 3 ตัว และ แม่พันธุ์ได้ถึง 15 ตัว โดยตัวผู้จะไล่จัดคู่กับตัวเมียเอง

           การผสมพันธุ์นั่นเมื่อตัวเมียเริ่มวางไข่ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ และเนื่องจากปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาที่อมไข่ เมื่อตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อเสร็จปลาตัวเมียก็จะอมไข่ไว้และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนไข่หมด ซึ่งปลาหมอสีจะอมไข่ได้ครั้งละประมาณ 30-40 ฟอง จากนั้นตัวผู้จะไปผสมพันธุ์กับตัวอื่นต่อไป มีปลาหมอสีบางชนิดที่วางไข่กับพื้นโดยไม่อมไข่ไว้เหมือนกันแต่พบได้น้อยมาก
ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วแม่ปลาจะอมไว้ในปาก ซึ่งเราจะสังเกตเห็นว่าใต้คางของแม่ปลาจะอูมออกมาชัดเจน เหงือกจะอ้าออกเพื่อให้น้ำไหลผ่านในช่องปากตลอดเวลา เมื่อครบ 15 วัน ลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัวระยะนี้เราสามารถนำแม่ปลามาเปิดปากเพื่อนำลูกปลาออกมาแล้วนำไปอนุบาลต่อไป การเปิดปากแม่ปลาควรทำด้วยความรวดเร็วและระมัดระวังมิเช่นนั้นแม่ปลาอาจเกิดการบาดเจ็บได้
ที่มา  http://www.thaigoodview.com/

                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น