วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การลี้ยงปลาทอง

                                             ปลาทอง

                                                    


                                              ถิ่นกำเนิด

          ปลาทองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคนได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการแปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป เช่น แต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรง ไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้วก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติสืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE                                                               

                                                            สายพันธุ์

                                                   ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น

                                                  

             ปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์จากญี่ปุ่นนี้ จัดได้ว่าเป็นปลาทองหัวสิงห์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นปลาที่มีทรวดทรงสวยงามและมีสีสันเข้มสด ทำให้แลดูเด่นสะดุดตาเป็นที่ประทับตาประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น โดยเฉพาะเป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นผสมคัดพันธุ์มาจากปลาทองหัวสิงห์จีน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมปลาทองสายพันธุ์นี้จึงได้รับความนิยมสูงกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน สำหรับหลักเกณฑ์การสังเกตปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น ได้แก่

1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง1. ลักษณะของปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่จัดว่าสวยควรจะมีครีบทวาร 2 ครีบ เพราะโดยมากจะมีเพียงครีบเดียว
2. ลำตัวของปลาโดยมากจะสั้นและโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน3. แกนหลังต้องใหญ่ตั้งแต่โคนหัวจรดถึงปลายหาง4. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นที่สวย หางจะต้องตั้งฉากกับลำตัวและข้อต่อหางจะต้องโค้งกดลงเล็กน้อย5. ปลาจะมีสีสันเข้มสด โดยมากปลาจะมีส้มออกทองหรือไม่ก็แดงทอง6. ส่วนหัวที่เป็นวุ้นควรมีขนาดเล็กละเอียดและมีขนาดไล่เลี่ยกันและที่สำคัญก็คือวุ้นควรดกหนา

                                                     ปลาทองออรัดา
 
                                                            
   

   
 ในประเทศญี่ปุ่นปลาทองชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ออแรนดา ชิชิงาชิระ” (Oranda Shishigashira) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Dutch Lionhead” ปลาทองสายพันธุ์นี้ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรก แต่จะเพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่าคงเกิดขึ้นในราวปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายในต้นศตวรรษที่ 19           ลักษณะปลาทองชนิดนี้คือมีลำตัวค่อนข้างยาว ครีบ และหางมีลักษณะยาว ส่วนหัวมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริเวณหัวด้านบนมีวุ้นขึ้นหนาแลดูลักษณะคล้ายปลาสวมหมวกไว้บนหัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาทองหัวสิงห์โต แต่ความหนาของวุ้นมีไม่มากเท่า โดยปกติวุ้นจะมีลักษณะเล็กและละเอียดกว่าวุ้นของปลาทองหัวสิงห์ แต่ก็มีปลาบางตัวที่มีวุ้นขึ้นดกหนาจนดูคล้ายปลาทองหัวสิงห์เช่นกัน              ปลาทองออแรนดาหัววุ้นจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวโดยถัวเฉลี่ยของปลาเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 30 ซม. เมื่อวัดจากหัวจรดปลายหาง มีนักเลี้ยงบางท่านสามารถเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่ได้ถึง 60 ซม. ทีเดียว (ต่อมาเริ่มรู้จักกันในนามพันธุ์ ออแรนดายักษ์)             โดยปกติแล้วปลาชนิดนี้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า โดยเฉพาะการพัฒนาการของวุ้นบนหัวค่อนข้างช้ามาก แต่เมื่อปลาเริ่มโตและมีวุ้นขึ้นบนหัวเด่นชัดจะเป็นที่นิยมมาก ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องซื้อขายกันในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย              อย่างไรก็ตาม ปลาชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นปลาทองที่ค่อนข้างเลี้ยงง่าย เพราะเป็นปลาที่มีความอดทน สำหรับวงจรชีวิตของปลาพันธุ์นี้จะอยู่ช่วงประมาณ 5-10 ปี โดยปกติชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ และไม่ชอบแสงแดดจ้ามากนัก ดังนั้นจึงไม่ควรเลี้ยงไว้ในที่กลางแจ้งซึ่งมีแดดส่องตลอดเวลา และถ้าหากต้องการให้ปลามีวุ้นดกหนาก็ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีระดับสูงจนเกินไป           สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความสวยงามของปลาชนิดนี้ คือ ส่วนหัวจะต้องมีวุ้นขึ้นดกหนา วุ้นจะต้องมีขนาดเล็กละเอียดและไล่เลี่ยกัน ลำตัวจะต้องได้สัดส่วนกับส่วนหัวและหาง หางควรมีลักษณะยาวไม่หักหรือคดงอหรือพับ สีจะต้องสด กรณีที่เป็นปลาสีขาวล้วนก็ไม่ควรที่จะมีสีเหลืองแซม ซึ่งปัจจุบันลวดลาย ขาว แดง กำลังเป็นที่นิยมมากในบ้านเรา   

                                                             
  ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

                                                                    

         ลักษณะเด่นจะมีวุ้นขึ้นครอบคลุมบริเวณส่วนหัวทั้งหมดซึ่งรวมถึงส่วนเหงือกของปลาด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่า แก้มปลา หรือเขี้ยวปลา นั่นเอง โดยวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะมีขนาดใหญ่มาก จนทำให้หัวของปลาแลดูไม่ค่อยกลม แต่จะดูคล้ายหน้าของยักษ์ (มีเขี้ยว) ซึ่งปลาทองหัวสิงห์พันธุ์นี้โดยมากมักจะมีแผ่นหลังไม่สวยงามเหมือนพันธุ์อื่น ๆวิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
วิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป
           สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความสวยงามของปลาชนิดนี้ คือ ส่วนหัวจะต้องมีวุ้นขึ้นดกหนา วุ้นจะต้องมีขนาดเล็กละเอียดและไล่เลี่ยกัน ลำตัวจะต้องได้สัดส่วนกับส่วนหัวและหาง หางควรมีลักษณะยาวไม่หักหรือคดงอหรือพับ สีจะต้องสด กรณีที่เป็นปลาสีขาวล้วนก็ไม่ควรที่จะมีสีเหลืองแซม ซึ่งปัจจุบันลวดลาย ขาว แดง กำลังเป็นที่นิยมมากในบ้านเรา

                                                       ปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์

                                                            

        
ลักษณะเด่นจะมีวุ้นขึ้นครอบคลุมบริเวณส่วนหัวทั้งหมดซึ่งรวมถึงส่วนเหงือกของปลาด้วย หรือที่นิยมเรียกกันว่า
แก้มปลา หรือเขี้ยวปลา นั่นเอง โดยวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะมีขนาดใหญ่มาก จนทำให้หัวของปลาแลดูไม่ค่อยกลม แต่จะดูคล้ายหน้าของยักษ์ (มีเขี้ยว) ซึ่งปลาทองหัวสิงห์พันธุ์นี้โดยมากมักจะมีแผ่นหลังไม่สวยงามเหมือนพันธุ์อื่น ๆวิธีการสังเกตปลาทองหัวสิงห์หน้ายักษ์ที่อยู่ในเกณฑ์สวย1. วุ้นบริเวณหัวควรขึ้นดกและหนา โดยเฉพาะวุ้นที่บริเวณเหงือกของปลาจะต้องนูนออกมามากจนดูคล้ายหน้ายักษ์จริง ๆ 2. ลักษณะของหน้าที่ดีควรจะสั้นและทื่อ ส่วนหัวไม่ควรแหลมหรือยื่นยาวออกมามาก3. ลำตัวควรจะสั้นและโค้งได้รูป



                             ปลาทองโตซากิ้น

                                                 

         ปลาทองพันธุ์โตซากิ้น TOSAKIN หรือที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกชื่อสั้นๆว่า "TOSA" เป็นปลาทองที่ถือกำเนิดขึ้นมาในราวปี ค.ศ. 1845 ณ เมือง KOCHI ในประเทศญี่ปุ่นโดย นาย KATSUSABURO SUGA ได้นำปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์โอซาก้ามาผสมข้ามพันธุ์กับปลาทองริวกิ้น ซึ่งเขาได้พบว่าลูกปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้มีบางส่วนมีลักษณะผ่าเหล่าไปจากลูกปลาทองตัวอื่นๆ โดยลูกปลาที่มีลักษณะผ่าเหล่าจะมีส่วนหางที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองทั่วๆไป อย่างแทบไม่น่าเชื่อ เพราะครีบของปลาทองเหล่านั้นแทนที่จะตั้งชันหรือเบ่งบานเหมือนปลาพ่อแม่พันธุ์ แต่กลับมีปลายหางทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในตัวเดียวกัน นั่นคือ ครีบหางด้านข้างทั้งสองข้างจะตั้งชันและยื่นชี้ไปทางด้านหน้าของลำตัว ส่วนครีบหางตรงกลางกลับหักมุมลงด้านล่าง ช่วยให้ครีบหางของปลาเกิดเป็นรอนคล้ายรูปคลื่น โดยเฉพาะหางของปลามีลักษณะบาน               สำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจากความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของรูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้นที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควรมีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์           คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้นนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร             เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า 6 นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่ 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 15-25
               สำหรับเกณฑ์การพิจารณาความสวยงามของปลาโดยมากจะพิจารณาจากความสวยงามของครีบหางเป็นหลัก ปลาที่สวยจะต้องมีครีบหางเบ่งบานและเป็นลอนสวยงาม โดยเฉพาะครีบหางที่อยู่กึ่งกลางลำตัวควรบานแผ่ออกและมีลักษณะโค้งได้รูป ส่วนครีบด้านข้างทั้งสองข้างควรกางแผ่ออกโดยทำมุมฉากกับลำตัว สำหรับในด้านของรูปทรงของตัวปลาให้พิจารณาโดยยึดถือหลักเกณฑ์เดียวกับการดูลักษณะปลาทองริวกิ้นที่จัดว่าสวย เพราะปลาทั้งสองสายพันธุ์จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ปลาทองโทซะคิงอาจมีลักษณะที่เพรียวยาวกว่า ส่วนในด้านของสีสัน ปลาทองสายพันธุ์นี้โดยทั่วไปจะมีสีแดงหรือไม่ก็สีแดงสลับขาว สีแดงควรมีสีเข้มสด ส่วนสีขาวควรมีสีขาวบริสุทธิ์           คล้ายกับว่าหางของปลาได้รับการออกแบบประดิดประดอยขึ้นมาโดยเฉพาะจากลักษณะเน้นที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้ปลาสายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันสั้นนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็จะมีอายุมากกว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว จึงพอพิสูจน์ได้ว่าปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่อยู่ในความนิยมของนักเลี้ยงปลามาเป็นเวลาอันช้านาน แต่เนื่องจากปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นปลาทองที่มีลักษณะบอบบางและค่อนข้างเลี้ยงยากกว่าปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ จึงทำให้ได้รับความนิยมมีไม่แพร่หลายเท่าที่ควร             เทคนิคในการเลี้ยงปลาทองพันธุ์นี้จำเป็นต้องให้ความพิถีพิถันเป็นพิเศษเพราะเลี้ยงไม่ถูกวิธีทำให้ปลาเสียความงามไป จึงต้องจำกัดเนื้อที่และความสูงของน้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ให้เนื้อที่ว่ายน้ำมีมากเกินไป น้ำไม่ควรสูงเกินกว่า 6 นิ้ว ส่วนเนื้อที่มีขนาด 70*70 ซม. ต่อปลาขนาดใหญ่ 6 -8 ตัว การเลี้ยงปลาควรไว้ในที่ร่มซึ่งมีแดดส่องถึง อุณหภูมิไม่สูงมากควรควบคุมให้ได้ในระดับ 15-25 องศาเซลเซียส
                                                     ปลาทองเกล็ดแก้ว


                                                  


         ปลาทองลูกกอล์ฟใต้น้ำสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นปลาทองที่แปลกไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้วนี้เป็นปลาที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ซึ่งปลาทองสายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือเป็นปลาทองที่มีลำตัวกลมมากจนคล้ายลูกปิงปอง โดยเฉพาะเกล็ดบนลำตัวจะมีลักษณะนูนขึ้นจนเป็นตุ่มซึ่งผิดกับเกล็ดของปลาทองโดยทั่วไป ส่วนหัวมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีส่วนหัวเล็กที่สุดก็ว่าได้ และจากลักษณะพิเศษเฉพาะนี้ทำให้ปลาทองเกล็ดแก้วดังข้ามทะเลไปสร้างชื่อเสียงไกลถึงต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก ในนามของ "PEARL SCALE GOLDFISH"           สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย            สำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว            สำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

                                                               
การเลี้ยงดู

             ปลาทองจะมีรูปร่างลักษณะที่สวยงามหรือไม่นั้นที่สำคัญก็คือการเจริญเติบโตของตัวปลาในระหว่าง 2-3 เดือน ในการเลี้ยงปลาทองแสงแดด ความอบอุ่น และอาหารอย่างเหลือเฟือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้การเลี้ยงปลาทองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ปลาที่สวยงามและแข็งแรง ปลาทองที่อยู่ตามธรรมชาติมีอายุยืนมาก เฉลี่ยแล้วอยู่ได้ถึง 50 ปี แต่นำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้จากที่อายุยืนที่สุดที่เคยเลี้ยงกันได้อายุยืน15 ปี แต่ส่วนมากมักเลี้ยงได้แค่ 4-5 ปีเท่านั้นปลาก็ตายปลาทองไม่ปลาที่เลี้ยงในตู้ เป็นปลาที่ชอบอยู่ในบ่อมากกว่าไม่ชอบน้ำเย็นแต่ชอบน้ำอุ่น น้ำที่นับว่าเหมาะสมกับปลาทองอย่างยิ่งคือน้ำจืดที่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาฟาเรนไฮ น้ำที่เลี้ยงปลาทองต้องสะอาด ปลาทองเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็วและกินจุ สามารถเลี้ยงได้ในภาชนะที่ตื้น ๆ และมีผิวหนากว้าง ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองอาจจะเลี้ยงในในตู้กระจก อ้างบัวหรือถังส้วมก็ได้ ระดับน้ำควรลึกประมาณ 20-40 ซม. หากลึกกว่านี้ปลาจำเป็นต้องว่ายน้ำตลอดเวลา จะทำให้หางลู่หมดความสวยงาม การจับปลาควรทำด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้หางพับหรือหัก ซึ่งเสียความสวยงาม ปากบ่อควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระโดดและศัตรูที่จ้องจะกิน เช่น แมว และนก        อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทองจะใช้ขนมปัง ลูกน้ำ ข้าวสุก แหนเล็ก ๆ หรือจะใช้อาหารเม็ดเลี้ยงปลาที่มีขายตามร้านขายปลาซึ่งมีเปอร์เซนต์โปรตีนไม่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซนต์ ก็ได้ การเลี้ยงปลาทองเพื่อความสวยงามควรให้อาหารครั้งละน้อย ๆ พอปลากินหมดจะดูสวยงามและ
น้ำไม่ขุ่นง่าย
   
                                        การเพาะพันธุ์

          การเพาะพันธ์ปลาทองควรจัดภาชนะที่ใช้เพาะปลาโดยเฉพาะซึ่งมีเนื้อที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตรและลึก 20 เซนติเมตร บ่อเพาะควรล้างและทำความสะอาดอย่างดี ไม่มีศัตรูของปลา เช่น ปลาเล็กๆหรือหอย ฯลฯไข่ปลาทอง เป็นไข่นประเภทไข่ติด ดังนั้นการเพาะพันธ์ควรใช้สาหร่ายหรือเชือกฟางพลาสติกเป็นวัสดุที่ให้ไข่เกาะ อัตราการเพาะพันธ์ควรใช้ปลาตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว เพราะไข่ปลาตัวเมียมีปริมาณมาก การใช้ปลาตัวผู้มากกว่าตัวเมียจะทำให้อัตราการผสมของไข่ดีขึ้น เวลาที่ปลาลงบ่อเพาะควรเป็นเวลาเย็นเพื่อให้ปลาผสมพันธ์วางไข่ในเช้ารุ่งขึ้น ไม่ต้องให้อาหารปลาในขณะเพาะพันธ์ และควรให้ออกซิเจนหรือปั๊มอากาสในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะมีออกซิเจนในน้ำเพียงพอ         หลังจากที่ปลาวางใข่แล้วให้ย้ายพ่อแม่ปลาออก แล้วย้ายไข่ไปฟักในภาชนะที่มีน้ำคุณภาพดี ส่วนน้ำในบ่อเพาะควรเปลี่ยและดูดตะกอน เพราะยังมีไข่ผสมแล้งร่วงอยู่ที่พื้นจำนวนมาก ไข่ปลาทองมีสีเหลืองโปร่งแสง เวลาฟักเป็นตัวเวลา 2 วันในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ลูกปลาวัยอ่อนจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ติดตัวประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มกินอาหารขนาดเล็กๆ เช่น ไรน้ำ ลูกปลาที่ได้รับการดูแลอย่างดีมีขนาด 1-2 นิ้ว ในเวลา 2 เดือน          การเพาะพันธ์ปลาทองควรใช้ปลาพันธ์เดียวกันเป็นพ่อแม่พันธ์ แม้ว่าปลาทุก ๆ พันธ์จะสามารถผสมกันได้ แต่ก็จะไดลูกปลาที่มีลักษณะแปลก ๆ ไม่สวยงามตามที่นักเลี้ยงปลานิยม แต่หากท่านอยากจะทดลองเพาะดูเพื่อศึกษาเองก็ไม่ผิดกติกาอันใด 
ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น