วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลากัด

                                    การเลี้ยงปลากัด


                             รูปปลากัดแดง

                               ปลากัดลูกทุ้งหรือลูกป่า      
          เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไปขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาวครีบก้น ครีบหลัังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตจะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีดและมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้องระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไวแต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้ 
                             ปลากัดไทน ปลากัดหม้อ
 

                        รูปปลากัดหม้อ     

            เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสันตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัดหม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะสั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับมาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมาว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน

                                       ปลากัดจีน

               

           เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงามฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะไม่มีความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม


                                    ปลากัดเขมร


                         

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
         ป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยงเนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้ เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบนเพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยกปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้ ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสียหายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดูเพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้

1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัดอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัดมีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมียแม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้วจึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุราชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหาได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวดพิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้นเปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่งทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็นขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภทหรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่ายในท้องตลาด
ที่มา 
http://www.samud.com/bettle_fish.asp


                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น